เรียนรู้อย่างไรในยุคดิจิตอล : มุมมองที่ต้องตระเตรียมสำหรับเด็กไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การแนะนำเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชนยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมและถูกต้อง ซึ่งเด็กและเยาวชนจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ การคิดเชิงวิเคราะห์ รวมถึงทักษะการสื่อสารและการจัดการสารสนเทศสำหรับยุคดิจิตอล ซึ่งเนื้อหาความรู้ที่สำคัญในโลกยุคดิจิตอล ประกอบด้วย 1) ใช้ (Use) คือ ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2) เข้าใจ (Understand) คือ ทักษะที่จะช่วยผู้เรียนเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิตอล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ 3) สร้าง (Create) คือ ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิตอลที่หลากหลาย การที่ผู้เรียนจะเกิดคุณลักษณะดังกล่าว ผู้สอนควรมีบทบาท ดังนี้ 1) สอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) เป็นผู้จัดการ สร้างให้ผู้เรียน
รู้อย่างเท่าทันกับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) สร้างสมรรถนะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน 5) พัฒนาผู้เรียนให้พร้อมที่จะรับบทบาทใหม่ ๆ ในสังคมโลกาภิวัตน์ 6) เน้นสมรรถนะที่หลากหลาย สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร และผู้เรียนควรมีบทบาทสำคัญ ดังนี้ 1) รู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 2) รู้จักเลือกและใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ 3) สร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 4) การเตรียมความพร้อมด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2544). ผลของการเชื่อมโยงรูปแบบเว็บเพจในการเรียนการสอนด้วยเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีกระบวนการเรียนรู้ต่างกัน.วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะรัตน์ คัญทัพ. (2555). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบเว็บเควสท์ในระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติเกศนี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). เทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิวัฒน์ กุศล. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดวงอาทิตย์และดาวบริวาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ การศึกษา มหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิโรรัตน์ พลไชย. (2546). การศึกษาประสิทธิภาพและผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม.
Braun,L.W. (2001). In virtual pursuit School Library Journal Net connect. The H.W.Wilson Company.
Chuo, Tun-Whei Isabel. (2004). The effect of the WebQuest Writing Instruction on EFL Learners’ writing performance, writing apprehension, and perception. China. EdD. LA SIERRA UNIVERSITY.
Ikpeze, C.H. and Bord, F.B. (2007). Web-based inquiry learning: Facilitating thoughtful Lieracy with Web Quests. International Reading Association.
Johnson, D.W. and Johnson, F.P. (2003). Joining Together: Group Theory and Group Skills. 7thEd. New York. Peason Education.