2. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์

Main Article Content

มัสยา อิมรอฮิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้น ให้มีคุณภาพ 2) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อิสลามเบื้องต้น ที่เรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์ จำนวน 60 คน แบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้นมีคุณภาพ ในระดับดีมาก 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูล เรื่อง อิสลามเบื้องต้น  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  81.92/84.83  และ 3) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่อง อิสลามเบื้องต้น ที่เรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบโมดูลสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2551.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรอิสลามศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2553.

ชัยยงค์พรมวงศ์ และคณะ. (2535). เอกสารการสอนชุดวิชาประมวลสาระวิชาชีพมหาบัณฑิตเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิตยา มัสเยาะ.2545. ปัญหาการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษา ในทัศนะผู้บริหารและผู้สอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนมุสลิม จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

หัทยา เข็มเพ็ชร. (2548). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สาธิต ยันตรีสิงห์. (2550). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ในจังหวัดนครปฐม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบางพระ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลลักษณ์ ยัง. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Why-Question Words เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ไพฑูรย์ นพกาศ. (2535). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง“การแยกตัวประกอบพหุนามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยืน ภู่สุวรรณ. (2545). การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การลำดับวิธีการสอนมาบันทึกในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย ประสารสอย. ( 2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นวัตกรรมเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: วีเจ พริ้นติ้ง.

ลดาวัลย์ เขียวหวาน. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Hall, K.A. (1982). Computer-based education. Encyclopedai of EducationReseach, 1, 353-367.

Therrien. (1992). Development and Evaluation of CAI Program on contraception. Dissertation Abstracts International, 31 (04), 51 A.

Skinner, S.B. Cognitive Development : A Prerequisite for Critical Thinking. The Clearing House, 7, 292-299.

Wilder. (1997). The Effects of Simulation Test Model of the General Education Development (DED) Program as Compared to the Effects of a drill Both Computer-Based and workbook-Based on GED Mathematics and Practice, Retcntion, and Time. Dissertation Abstracts International, 57 (07), 2080 – A.