การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ระพีพรรณ สิทธยางกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 0.50 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.25 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 – 0.63 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที


            ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.67/86.44 และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.67 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของชีวิตพืช สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยชั้นเรียน : หลักการเทคนิคการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : พิมพ์งาม.

__________. (2552). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สุรีวิยาสาส์น.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2552). หลักสูตรแนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ.

_________. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.