การประเมินโครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center Thailand 4.0) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย

Main Article Content

แคชรียา ศรีวงษา
จุฑามาส ศรีจำนงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนารูปแบบและยกระดับคุณภาพศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center Thailand 4.0) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ ประกอบด้วย 1) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 2) ประเมินด้านกระบวนการ และ 3) ประเมินด้านผลผลิต เครื่องมือโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ จำนวน 19 คน นักเรียน - นักศึกษา จำนวน 100 คน ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน ช่างชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 424 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ และช่างชุมชน รวมจำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.34, S = 0.30) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงบประมาณ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านระยะเวลา จากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า โครงการ ฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ บุคลากรมีความพร้อมด้านการอบรมตามความต้องการของชุมชนขาดบุคลากรด้านการให้บริการกิจกรรมซ่อม จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคเลยเพื่อดำเนินโครงการร่วมกัน 2) การประเมินด้านกระบวนการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.53, S = 0.29) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการประเมินผลโครงการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการวางแผนดำเนินโครงการ จากข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการประชุมกันในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับสถานศึกษา เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ สำรวจความต้องการของชุมชน การประชาสัมพันธ์โครงการ กำหนดแผนงานโครงการ ดำเนินกิจกรรมบริการซ่อม กิจกรรมบริการสร้าง กิจกรรมบริการพัฒนา แก้ปัญหาและติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ 3) การประเมินด้านผลผลิต เมื่อแยกประเด็น (1) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ของนักเรียนและ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบริการซ่อม บริการสร้างและบริการพัฒนามีผลการประเมินระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ (2) ด้านความพึงพอใจของนักเรียน – นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบริการซ่อม บริการสร้างและบริการพัฒนามีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น จากข้อมูลเชิงคุณภาพ  พบว่า กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการซ่อมตามเป้าหมาย ช่างชุมชนได้รับการพัฒนาและยกระดับโดยการเพิ่มทักษะจากการฝึกปฏิบัติจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กมลานันท์ บุญกล้า. (2559). การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองปลาซิวสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
[2] เจี่ยง วงศ์สวัสดิ์สุริยะ. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Work – Integrated Learning). กรุงเทพฯ :
วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
[3] โฉมยงค์ คงประดิษฐ์. (2556). การประเมินโครงการการเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับนานาชาติ โรงเรียนมหิดล วิทยานุสรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการประเมิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[4] สุวรรณ บรรจง. (2558). การประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านกอกวิทยาคาร โดย CIPP MODEL. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม.
[5] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน FIX IT CENTER THIALAND 4.0. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
[6] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). รายงานการติดตามประเมินผล โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.