การพัฒนารูปแบบการผลิตและการยอมรับข้าวฮางงอกไรซ์เบอร์รี่แช่น้ำหมักสมุนไพร

Main Article Content

ภานุมาศ พุฒแก้ว
กวินภพ ศรีวัฒนานุศาสตร์

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการผลิตข้าวฮางงอกไรซ์เบอร์รี่แช่น้ำหมักสมุนไพร เป็นการศึกษารูปแบบการผลิตและการทดสอบ
การยอมรับของผู้บริโภค พร้อมทั้งเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการที่มีต่อข้าวฮางงอกพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่แช่น้ำหมักสมุนไพร โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ในเขตพื้นที่รอยต่อจังหวัดสกลนครและอุดรธานี จำนวน 35 คน และกลุ่มผู้บริโภคที่เคยรับประทานข้าวฮางงอก และไม่เคยรับประทานข้าวฮางงอก รวม 60 คน ใช้แบบสอบถามการยอมรับของผู้บริโภค มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA 


              ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการผลิตข้าวฮางงอกไรซ์เบอร์รี่แช่น้ำหมักสมุนไพร  มีขั้นตอนการผลิตเริ่มจากการเตรียมปัจจัยนำเข้า (Input) การแปลงสภาพ (Transformation) ผลผลิตที่ได้ (Output) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) และได้ทำการทดสอบความชอบของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ด้านประสาทสัมผัสที่มีต่อข้าวฮางงอกไรซ์เบอร์รี่ สูตรแช่น้ำหมักชีวภาพสมุนไพร จำนวน 4 สูตร พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ (P>0.05) และมีความชอบโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างชอบ และยอมรับในสูตรแช่น้ำหมักสมุนไพร ลูกยอ (Mean=4.30, S.D. = 0.77) มากที่สุด ที่สำคัญทั้งยังค้นพบปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในอัตราส่วน 100 กรัม ได้แก่ กาบา (GABA) 8.21 มิลลิกรัม ใยอาหาร (Dietary Fiber) 3.5 กรัม โอเมก้า (Omega-9) 1.27 กรัม โอเมก้า 6 (Omega-6) 0.95 กรัม วิตามินบี 9 (Vitamin B 9) 0.18  มิลลิกรัม โอเมก้า 3 (Omega-3) 0.06 กรัม วิตามินบี 1 (Vitamin B 1) ค่า LOD 0.20 และวิตามินบี 2 (Vitamin B 2) ค่า LOD 0.03 ทั้งนี้ทำให้กลุ่มเกษตรกรได้พัฒนารูปแบบของการพัฒนาข้าวฮางงอกไรซ์เบอร์รี่แช่น้ำหมักสมุนไพรลูกยอ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร และมีงานวิจัยรองรับ นับได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้ผลิตสินค้าใหม่จากชุมชน เพื่อนำไปขายให้กับตลาดผู้บริโภคกลุ่มคนรักสุขภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรรณิการ์ ห้วยแสน, หนูเดือน สาระบุตร, พัฒนา พึ่งพันธุ์, จิระพันธ์ ห้วยแสน และอ้อยทิพย์ สมานรส. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตข้าวฮางงอก (ข้าวนึ่งงอก). คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา.
[2] กฤตณกร รูปเล็ก และ วัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหาร
บุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม หน้า 56-69.
[3] กองบรรณาธิการการเกษตร. (2557). ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธ์ใหม่พลิกชีวิตชาวนาไทย. กรุงทพฯ. บริษัท ส.เอเชียเพรส (1989) จำกัด. สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
[4] ไชยวัฒน์ ไชยสุต และคณะ. (2547). ความพึงพอใจของผู้บริโภคและผลที่ได้รับจากการดื่มเครื่องดื่มน้ำหมักชีวภาพ. มาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ.
[5] พาณี ศิริสะอาด และคณะ. (2547). ทัศนคติของฝ่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขที่มีต่อกระแสการบริโภคเครื่องดื่มน้ำหมักชีวภาพ. มาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ.พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล. (2545). การบริหารและจัดการองค์กรอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
[6] ภานุมาศ พุฒแก้ว, วรัญญู แก้วดวงตา และสงกา ศรีอ่อน (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการข้าวฮางงอกพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ โดยการแช่น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กทมฯ. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
[7] ละเอียด แจมจันทร, สุรี ขันธรักษวงศ, นวลจันทรเทพ ศุภรังษิกุล และพิชญอาภา แจมจันทร. (2557). การศึกษาผลของการบริโภคขาวนึ่งกลองเริ่มงอกกับขาวมอลตที่มีตอภาวะสุขภาพของผูสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2557. หน้า 77-89.
[8] วินัยธร วิชัยดิษฐ. (2558). การจัดการความรู้กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
[9] สุชาดา พัฒนกนก, พรทิพย์ วินโกมินทร์, วิภาวี เกียรติศิริ, สุภาศิริ พะหูชนม์, สุนันท์ เครือคล้าย, สุนทรี จีนธรรม และ
วรวรรณ จงศักดิ์สวัสดิ์. (2546). การศึกษาแนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาสมุนไพรน้ำหมักลูกยอ
ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อช่วยเพื่อนอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. ปทุมธานี. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
[10] Komatsuzaki, N., Tsukahara, K., Toyoshima, H., Suzuki, T., Shimizu, N. and Kimura, T. (2007). Effect of soaking and gaseous treatment on GABA content in germinated brown rice. J.Food Eng. 78:556–560.