ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

Main Article Content

Prasak Santiparp

บทคัดย่อ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนสู่บริโภคนิยมในปัจจุบันส่งผลให้เกิดปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมากขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและความรอบรู้สุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่แพร่หลายจึงน่าสนใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และวิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การสังเคราะห์โปรแกรมฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ 2) การวิเคราะห์ผลของการทดลองใช้โปรแกรมฯ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คนเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยเข้ารับการอบรม 5 วัน แล้วดำเนินการอบรมผ่านไลน์กลุ่มต่ออีก 4 สัปดาห์รวม 33 วัน วิเคราะห์ผลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ และวิจารณญาณ


ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมที่ประกอบด้วยการกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก การสนทนา การสำรวจข้อเสนอทัศนคติใหม่
ในตนเองแล้วต่อด้วยการสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งระดับพื้นฐาน ปฏิสัมพันธ์ วิจารณญาณ และการปฏิบัติดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการอบรมโดยใช้การทดสอบค่า t-test แบบไม่อิสระ (paired t-test) และสถิติ
ไร้พารามิเตอร์ (Sign test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า p-value < 0.05 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). การขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสื่อสารสุขภาพ. ออนไลน์. http://www.anamai.moph.go.th/ppf2017/Download/29/%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/32.pdf. (เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2561).
[2] กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
[3] กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย. นนทบุรี: สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
[4] จันทิมา เขียวแก้ว, ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, พรเลิศ ชุมชัย. (2560). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1; ม.ค.–มิ.ย., 33-45.
[5] ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
[6] ประภัสสร งาแสงใส, สุวรรณา ภัทรเบญจพล, ปดิร-ดา ศรเสียน. (2557). กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 9 (ฉบับพิเศษ): 82-87.
[7] รุ่งนภา จันทรเสนา. (2559). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์น นิ่ง (e-learning) เรื่อง ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2; ก.ค.- ธ.ค., หน้า 189 -201
[8] อรอนงค์ นิยมธรรม. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความเมตตากรุณาตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 23(41), 273-290.
[9] Cranton, P. (1994). Understanding and promoting transformative learning. San-Francisco, CA.: Jossey-Bass.
[10] Kitchenham, A. (2008). Building on Mezirow's Theory of Transformative Learning: Theorizing the Challenges to Reflection. Journal of Transformative Education, 6(1), 155-164.
[11] Mezirow, J. (2003). Transformative learning as discourse. Journal of Transformative Education; 11, 58-63.
[12] Mezirow, J. (2000). Learning to think like an adult. San-Francisco, CA.: Jossey-Bass.
[13] Mezirow, J. (1998). On critical reflection. Adult Education Quarterly, 48(3), 185-198.
[14] Mezirow, J. (1991). Transformative dimensions of adult learning. San-Francisco, CA.: Jossey-Bass.
[15] Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science Medicine. Dec; 67 (12): 2072-8.
[16] Nutbeam, D. (2006). Health Literacy. San FRancisco, CA: Jossey-Base.
[17] Plummer, K. (2000). Symbolic Interactionism in the Twentieth Century. Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers.
[18] Taylor, E. (2009). The Handbook of Transformative Learning. San-Francisco, CA.: Jossey-Bass.