8. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากรกับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

Nongluk Wongsook

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากร และประสิทธิผล   การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์ในการทำงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากรกับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก    กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 265 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent samples) F - test (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากร มีส่วนร่วม   อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
[2] คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
[3] จุฑาณัฐ สุภาพ. (2555). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สระแก้ว เขต 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[4] ชนม์ธิดา ยาแก้ว และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
[5] ชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี :
วิทยาลัยสันตพล.
[6] นภาพร ทองเก่งกล้า. (2551). การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[7] ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). การจัดการศึกษา 4.0 กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562. จาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou.
[8] พรภิมล ศรีโมสาร. (2555). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ศูนย์ประสานงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 เหลืองจันท์. ปริญญานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[9] พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] โศภิดา คล้ายหนองสรวง (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ปริญญานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[11] สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2560). ปัญหาสำคัญของเด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.kruupdate.com/news/newid-3413.html.
[12] อนงค์ อาจจงทอง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.