ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

นางสาวสมปรารถนา พรหมสูตร

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงาน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผล


            กลุ่มตัวอย่าง เป็น ครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ จำnนวน 234 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหาร 5 ด้าน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.944 และสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 ด้านที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยทางการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก

  2. ประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก

  3. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r=0.794) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. สมการพยากรณ์ประสิทธิผลตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ โดยมีปัจจัยทางการบริหารเป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดคือ ปัจจัยปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร  ปัจจัยโครงสร้างองค์กร  ปัจจัยการฝึกอบรมและพัฒนา และปัจจัยภาวะผู้นำ  โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 63331.png

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2560). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
[2] คำเตียง ก่ำเกลี้ยง. (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพทางการศึกษาภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[3] ฉัตรชัย จันทะมาตย์ (2560). ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
[4] ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี. ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกสซิฟ.
[5] บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาสน์.
[6] ปริญญา นันทะมีชัย. (2556). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
[7] เมรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
[8] วิรัช นิภาวรรณ. (2558). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯซ. โฟร์เพช.
[9] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ. พริกหวานกราฟฟิค.
[10] สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ. (2561). ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบึงกาฬ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
[11] อเนก วิลาสังข์. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่สงผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.