24. ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมเมนทอลโมเดล วิชาการเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมเมนทอลโมเดล วิชา การเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

Palida Piankoet

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเมนทอลโมเดลของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมเมนทอลโมเดล 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมเมนทอลโมเดล แบบสัมภาษณ์ความคิดเมนทอลโมเดล และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเมนทอลโมเดลของผู้เรียนโดยการวิเคราะห์โปรโตคอลเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของเมนทอลโมเดลตามพื้นฐานของ Merrienboer (1997) และ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่า     t-test ผลการวิจัยปรากฎผลดังนี้


  1. เมนทอลโมเดลของผู้เรียน พบว่า 1) ผู้เรียนสามารถสร้างเมนทอลโมเดลที่เป็นความรู้เชิงหลักการ (Declarative mental model) ที่พบมี 2 ประเภท คือ ผู้เรียนสามารถอธิบาย ความรู้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์กระบวนการเขียนโปรแกรมซึ่งมีความซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ 2 เรื่องขึ้นไป (Complex Schema) และผู้เรียนอธิบายความรู้ซึ่งประยุกต์จากหลักการเดิมไปสู่ความรู้ที่เป็นหลักการใหม่ที่เป็นของตนเอง (General Schema) และ 2) ผู้เรียนยังสามารถอธิบายความรู้ที่เป็นเมนทอลโมเดลที่เป็นกระบวนการ ( Procedural mental model) ผู้เรียนแสดงถึงความสามารถในการอธิบายการแก้ปัญหาสถานการณ์ปัญหาได้โดยการวาดแผนผังความคิดออกมาในรูปแบบโมเดล และ ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงขั้นตอนเกี่ยวกับการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่เป็นกระบวนการโดยมี เงื่อนไข (Condition(s)) ต่าง ๆ ว่าทำอย่างไรเพื่อการบรรลุถึงผลลัพธ์(Action(s)) โดยการยกเหตุการณ์ตามตนเองที่ได้เคยทดลองประกอบการอธิบายสิ่งที่ตนเองได้วาดแผนผังโฟลว์ชาร์ตได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีรายละเอียดที่ชัดเจน

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมเมนทอลโมเดล วิชาการเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานเปิด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 13.33 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 4.29 คะแนน และ ค่าเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 30.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 3.23 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย