22. การศึกษางานสร้างสรรค์ฉากแอนิเมชันแบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนในเกมแนวสยองขวัญ “Home Sweet Home” เกมผีไทยสัญชาติไทย

Main Article Content

ธีร์วรา สุขสุเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิดของการออกแบบและรูปแบบของการสื่อสาร
ในงานสร้างสรรค์ฉากแอนิเมชันแบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน ในเกมแนวสยองขวัญ Home Sweet Home
เกมผีไทยสัญชาติไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการการใช้และไม่ใช้ Virtual Reality ในการเล่นเกม
Home Sweet Home 3) เพื่อน าผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการน าระบบ Virtual Reality มาประกอบการสอน
ภายภาคหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันจ านวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยได้แก่ เกม Home Sweet Home ,Virtual Reality Headset , แบบประเมินความคิดเห็น สถิติทีใช้ในการวิจัยได้แก่
การหาค่าเฉลี่ย (Mean ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ฉากตอบโต้ของเกม Home Sweet Home นั้นออกแบบโดยค านึงถึงระบบการเล่นของเกมก่อน
โดยการออกแบบฉากของเกมให้มีพื้นที่ที่เล็กและแคบเพื่อให้ผู้เล่นนั้นได้เกิดความอึดอัดกังวลใจซึ่งส่งผลต่อการเล่นแนวสยองขวัญ
และฉากแอนิเมชันในเกม Home Sweet Home ส่วนใหญ่จะเป็นฉากที่แทรกความตกใจอย่างฉับพลัน (jump scare) เพื่อให้ผู้
เล่นนั้นได้เกิดอาการตกใจมากยิ่งขึ้น และในส่วนของรูปแบบของการสื่อสารนั้น ตัวฉากแอนิเมชันตอบโต้ของเกม Home Sweet
Home จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นเมื่อผู้เล่นท าการส ารวจสิ่งของต่างๆภายในเกม หรือเมื่อผู้เล่นเดินไปถึงจุดที่ก าหนดไว้ 2) ผลลัพธ์
ของการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเล่นเกม Home Sweet Home โดยมีระบบ Virtual Reality และแบบไม่มีนั้น
ความคิดเห็นส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการที่เล่นเกม Home Sweet Home ผ่านระบบ Virtual Reality จะให้ความตื่นเต้นมากกว่า
มีความน่าสนใจที่มากกว่าการเล่นเกม Home Sweet Home แบบไม่มีระบบ Virtual Reality 3) จากข้อมูลผลลัพธ์ที่แสดง
ท าให้การน าระบบ Virtual Reality ไปใช้ประกอบการสอนเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากระบบ Virtual Reality จะ
ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมากขึ้นไปอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย