23. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs

Main Article Content

มีศักดิ์ แสงศิลา
รพิพรรณ แก้วโภคา
วรรณี แก้วคำศรี
เดือนฉาย ผ่องใส
จุฑามาส ทรายแก้ว
ณัฐฐา มาตรนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs
เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs จำแนกโดย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและตำแหน่งงาน และเพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด           2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs  จำแนกตามเพศ และตำแหน่งงานไม่แตกต่างกัน ส่วน อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ต่างกัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs พบว่า ด้านทักษะคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด สถานศึกษาควรพัฒนาทักษะในด้านดังกล่าว โดยสถานศึกษาจัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ใช้ไอซีทีตามความต้องการแต่ละคน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งบุคลากรไปศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, ทุติยรัตน์ รื่นเริง และสมพร รักความสุข. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี.

กาญจน์วริษฐา ชูกำลัง และสาธร ทรัพย์รวงทอง. (2556). แนวทางการพัฒนาครูด้านวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, เก็จกนก เอื้อวงศ์ และนงเยาว์ อุทุมพร. (2555). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุรศักดิ์ ยุทธนานุกูล. (2558). ความต้องการพัฒนบุคลากรของข้าราชการครูโรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวณี อึ่งวรากร. (2558). ครู : อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Bernie Trilling and Charles Fadel. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco. Jossey-Bass A Wiley Imprint.

Kristen Kereluik and Punya Mishra. (2015). What 21st Century Learning? A Review and a Synthesis 2012. RetrievedApril 2,2019 from http://www.punya.Edu.msu.edu/publications/21st CenturyKnowledge-PM-KK.pdf.