ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ ผ่านออนไลน์

Main Article Content

อรอนงค์ กลิ่นสุวรรณ์
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ผ่านออนไลน์  2) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ผ่านออนไลน์ 3) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ผ่านออนไลน์จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 400 คน ได้แก่ ผู้บริโภคเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ผ่านออนไลน์เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00เท่ากับ 0.806 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.855 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Chi-square และ Multi Regression Analysis


ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีอายุ 36 ปีขึ้นไป   สถานภาพโสด  การศึกษาระดับปริญญาตรี  อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท ผู้ที่เลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ที่มีอายุแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกประเภทของชุด  สาเหตุและแนวทางในการเลือกแตกต่างกันส่วนช่วงเวลาในการเลือกซื้อ รูปแบบและปริมาณการซื้อไม่แตกต่างกัน  ด้านสภานภาพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกประเภทของชุดและช่วงเวลาในการเลือกซื้อไม่แตกต่างกัน ส่วนสาเหตุ  แนวทาง  รูปแบบและปริมาณการซื้อแตกต่างกัน  ด้านการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรม การเลือกประเภทของชุด  สาเหตุการเลือกและแนวทางการเลือกแตกต่างกันส่วนช่วงเวลา รูปแบบในการเลือกและปริมาณการซื้อไม่แตกต่างกัน  ด้านอาชีพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกประเภทชุด  สาเหตุในการเลือกและแนวทางการเลือกแตกต่างกัน  ส่วนช่วงเวลาในการซื้อ  รูปแบบในการเลือกและปริมาณในการซื้อไม่แตกต่างกัน  ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกประเภทชุด  สาเหตุในการเลือกและแนวทางในการเลือกแตกต่างกันส่วนช่วงเวลาในการซื้อ รูปแบบในการเลือกและปริมาณในการซื้อไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญวรรณ เยาวสังข์. (2554). พฤติกรรมการใช้และปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านทางเครือข่ายสังคม ออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ก ในด้านปัจจัยทางการตลาด ในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ปารมี ปุยพรหม. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภคในการตอบสนองต่อลักษณะข้อมูลของธุรกิจบริการในชุมชมออนไลน์. สาขาวิชา การตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , กรุงเทพฯ.

Promsuporn, P. (2020). The guidelines for managing social responsibility that affect the image and success of the transformer business. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(3), 179 - 194.

World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. (‎2009)‎. VISION 2020. WHO Regional Office for South-East Asia. https://apps.who.int/iris/handle/10665/206523