20. ต้นแบบบ่อน้ำพุร้อน : ทางเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนคลองฉนวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เกสสิณี ตรีพงศ์พันธุ์

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทยมีต้นทุน
ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก อันได้แก่ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล และป่าไม้ กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดยปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่ามหัศจรรย์จึงเอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังเช่น บ่อน้ำพุร้อนคลองฉนวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้มีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะถูกพัฒนาให้เป็นต้นแบบของบ่อน้ำพุร้อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากผ่านการประเมินด้วยเกณฑ์การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ ซึ่งสามารถจัดเป็นแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ที่มีจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรรมชาติ และสามารถบริหารจัดการด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพื่อความยั่งยืนได้ในอนาคต ด้วยการนำวัตถุดิบ และทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านการจัดการของชุมชนเอง เป็นการส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนตระหนัก รักษ์บ้านเกิด และสามารถปลูกฝังเยาวชนให้มีจิตสาธารณะสำหรับการจัดการชุมชนได้ด้วยตนเอง โดยมีพื้นฐานความรู้จากการให้บริการวิชาการของหน่วยงานสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ. สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563, จาก http://park.dnp.go.th/file/น้ำพุร้อนธรรมชาติ.pdf

มัชฌิมา อุดมศิลป์. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุขภาพโดยชุมชนโพหัก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล., 5(1), 40 - 50.

ราณี อิสิชัยกุล. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากทวีปยุโรปสู่ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สกว.

สโมสรน้ำพุร้อนไทย. (2563). แหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จากhttp://www.thaispaassociation.com/uploads/file/K.Preecha_11_Sep.pdf

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน. (2559). แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนคลองฉนวน. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก http://www.klongchanuan.go.th/contactus

E-sichaikun, R. (2014). Niche Tourism Management. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Global Wellness Institute. (2014). The Global Wellness Tourism Economy 2013 & 2014.

Kara, D. (2016). The Assessment of Medical Tourism in the World and Strategy Recommendations. International Journal of Health Sciences and Research (IJHSR), 6(4), 470 - 479.

Kogiso, K. (2012). Thai Massage and health tourism in Thailand: tourism acculturation process of “Thai Massage”. International Journal of Sport and Health Science, 201209.

Palang, D., and Tippayawong, K. Y. (2019). Performance evaluation of tourism supply chain management: the case of Thailand. Business Process Management Journal.

Potjana Suansri. (2009). Local insight: Thai Community Based Tourism / Potjana Suansri and Peter Richards. Chiang Mai: Tourism Authority of Thailand.

Sankrusme, S. (2012). "Development Strategies on Taking Thailand’s Health Promotion Related Tourism Business into the Global Market". International Business Research 5(11): 83.

Yorulmaz, M. (2019). An overview of health tourism. Retrospect & prospect, 343.