ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อ พัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

วชิรา ธานีรัตน์
นิธิพัฒน์ เมฆขจร
กันตวรรณ มีสมสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อ ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการและ 2) เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการและกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มหลังจากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม
แนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมการใส่ใจจดจ่อ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังจากการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลอง มีทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ  2) นักเรียนปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการมีการพัฒนาทักษะสมองทางด้านการใส่ใจจดจ่อสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ แสงด้วง. (2557). การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียผดุงปัญญา จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญานิพนธ์ ศษ.บ. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

โฉมสุดา ยงยืน. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทุ่งฝนพัฒนาศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสันตพล, 6(2), 184-192.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). ExecutiveFunctions- EF กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ปาณิสรา ฤทธิ์เรืองเดช. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดทักษะเชิงบริหารทางสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญานิพนธ์ ศษ.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. ปีพิมพ์ : 2544. ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2.

วัฒนา พัชราวนิช. (2531). หลักการแนะแนว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

วิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). แนวคิดการแบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบัน RLG (2561)

สุขอารมย์ เพิ่มพันธุ์วรวัฒน์. (2558). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อลดแนวคิดด้านวัตถุนิยมของนักเรียชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. มหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.