ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรีจำแนกตามลักษณะของสถานประกอบการ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย จำนวน 410 คน
การวิจัยใช้แบบสอบถามแบบสำรวจรายการ (Check list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถอยู่ในระดับมากที่สุด
2 ด้านคือ ด้านความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และด้านความเป็นตัวของตัวเอง 2) ความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน ด้านการสร้างความแตกต่าง ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบลักษณะของสถานประกอบการที่ระยะเวลาเปิดดำเนินการแตกต่างกันมีความสามารถทางการแข่งขันแตกต่างกัน 4) ความสัมพันธ์ความสามารถของผู้ประกอบการกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง จากความสัมพันธ์พบว่าความสามารถทางการแข่งขันสำหรับการเป็นผู้ประกอบการต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ที่ผู้บริหารต้องหาวิธีในการบริหารจัดการความรู้ให้เกิดมูลค่าต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). รายงานประจำปี 2561. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562, จากhttps://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469413374
เชาวนี แย้มผิว และจันทนา แสนสุข. (2564). กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสันตพล, 7(1), 39-48.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ภาพิมล ธนรุ่งเจริญกิจ และคณะ. (2560). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจร้าน Mr. Ice Cream จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(1), 1152-1167.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย Research methodology. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2560). การพัฒนาทุนมนุษย์และความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจบริการ. งานวิจัยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วสุธิดา นักเกษม และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการ ในเขตกรุงเทพมหานคร (Factors Affecting the Competitive Advantage of Service Business Entrepreneurs in Bangkok). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(1), 2148-2167.
วันวิสา โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการร้านค้า ในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(2), 967-988.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2558). รายงานสถานการณ์ SME ปี2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2560). รายงานสถานการณ์ SME ปี2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.sme.go.th/th/download. php?modulekey=215
สุชาดา ตั้งทางธรรม และคณะ. “สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 Towards AEC 2015”, วารสาร 30 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุดใจ ผ่องแผ้ว และนุจรี ภาคาสัตย์. (2559). รูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็น SMEs ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 1659-1675.
สุธาทิพย์ จันทร์เจริญผล. (2558). อิทธิพลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการตลาดที่มีต่อการตอบรับจากลูกค้า และความได้เปรียบทางการแข่งขันของกิจการร้านยาในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(1), 1176-1191.
Bamey, J. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.
Hayton, J. C. (2003). Strategic human resource capital management in SMEs: An empirical study of entrepreneurial performance. Human Resource Management, 42(4), 375-397.
Lumpkin, G.T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. Academy of Management Review. 21(1), 135-172.
Porter, M.E. (2005). The Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.