อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้คุณค่าของงานที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน และปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าของงาน ที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน 283 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าคุณภาพของเครื่องมือ คือ ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 - 0.95 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีส่งแบบสอบถามทางออนไลน์ สถิติที่ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลจากการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานไม่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ สำนักงาน กสทช. แต่การรับรู้คุณค่าของงานมีผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ สำนักงาน กสทช. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานโดยรวมของพนักงานระดับปฏิบัติการของสำนักงาน กสทช. ได้ร้อยละ 13
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ณัฐธิดา สุพรรณภพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้คุณค่าของงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ของบุคลากรสายวิชาการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ และคณะ. (2557). ความเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 8(2), 40-53.
ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และคณะ. (2563). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของพนักงานห้องจัดแสดงรถยนต์และศูนย์บริการรถยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารนักบริหาร, 40(2), 81-94.
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). (2562, 18 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 51 ก.
พรพิมล พงษ์โหมด. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในงาน และความตั้งใจลาออกของพยาบาลแผนกวิกฤตโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มีศักดิ์ แสงศิลา และคณะ. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคนิค 7Cs. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 222-231.
วิชาญ ทรายอ่อน. (2559). ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมทรง คันธนที และวริสรา วงษ์เตมีย์. (2561). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความเบื่อหน่ายในการทำงานของนักบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2561 นวัตกรรมการจัดการ. สังคมสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ปทุมธานี.
สำนักงาน กสทช. (2562). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
Cuzzocrea, V., & Laws, J. (2020). Value of Work: Updates on Old Issues: BRILL.
Gorji, M. (2011). The effect of job burnout dimension on employees' performance. International Journal of Social Science and Humanity, 1(4), 243.
Han, S. H., Sung, M., & Suh, B. (2021). Linking meaningfulness to work outcomes through job characteristics and work engagement. Human Resource Development International, 24(1), 3-22.
Lasalvia, A., Bonetto, C., Bertani, M., Bissoli, S., Cristofalo, D., Marrella, G., Lazzarotto, L. (2009). Influence of perceived organisational factors on job burnout: survey of community mental health staff. The British Journal of Psychiatry, 195(6), 537-544.
Leiter, M. P., Maslach, C., & Frame, K. (2014). Burnout. The encyclopedia of clinical psychology, 1-7.