ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

ปิยาภรณ์ พรหมทัต
เกียรติชัย วีระญาณนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงาน ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการแรงงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
การทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 448 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของแรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
เขตภาคกลางของประเทศไทยโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยภาพรวมของปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทํางานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ ทั้ง 8 ด้าน นั้น มีความแตกต่างกัน ในด้านระดับการศึกษาสูงสุดและด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ปัจจัยการจัดการแรงงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงาน พบว่าด้านการพัฒนาแรงงาน (Beta = 0.31) ด้านแรงงานสัมพันธ์ (Beta = 0.24) ด้านคุ้มครองแรงงาน (Beta = 0.21)
ด้านสวัสดิการแรงงาน (Beta = 0.12) ด้านความปลอดภัยในการทำงาน (Beta = 0.12) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหลJยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2562). สำนักมาตรฐานแรงงานไทยกระทรวงแรงงาน.

กระทรวงแรงงาน. (2559).กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี (2560-2579) กระทรวงแรงงานพฤศจิกายน 2559. สืบค้น 20 มิถุนายน 2562 จาก www.mol.go.th/แนะนำกระทรวงแรงงาน/policy_vision_mission/

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน, 11(4), 17–22.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา. พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำรัส อึ้งศรีวงษ์. (2557). การจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร.รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, กรุงเทพฯ.

ดุสิดา คุ้มสวัสดิ์ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบตัิงานของพนักงานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จํากัด. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ ๑๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๓. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต. หน้า 1028.

ธีรพันธ์ ลมูลศิลป์. (2562). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 76-84.

นนท์ธนพร พันชนะ. (2553). การถูกเลิกจ้างและคุณภาพชีวิตของผู้ถูกเลิกจ้างภาคอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม.(บริหารธุรกิจ). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคอุตสาหกรรมกรณีศึกษาอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2563). อุตสาหกรรมรถยนต์. Krungsri Research. 1–8. สืบค้น 4 ตุลาคม 2563 จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Automobiles/IO/io-automobile-20

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2561). สถิติความปลอดภัยในการทำงานที่ในปี 2561. กรุงเทพฯ. หน้า 15.

สำนักงานเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม. (2558). เอกสารเผยแพร่อุตสาหกรรมน่ารู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์. กรุงเทพฯ: หน้า 2-4.

อังคณา คุ้มหมู่ม่วง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.