การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียน 3) ติดตาม ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) และ 4) ติดตาม ผลลัพธ์ (Results of Implementation) ได้แก่ พฤติกรรม การปฏิบัติตนด้านคุณธรรม จริยธรรม (Behavioral Outcome) ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย (Research Participants) จํานวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้บริหารจํานวน 2 คน คณะครูจํานวน 23 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จํานวน 15 คน 2) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Data Providers) หรือ จํานวน 331 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จํานวน 93 คน นักเรียนชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จํานวน 69 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จํานวน 162 คน และครูประจําชั้นจํานวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกจากนักเรียนทุกคนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และผู้ปกครองและครูของนักเรียนในปกครองเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา ในปีการศึกษา 2562 - 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นจํานวน 1 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรมรายกลุ่มจํานวน 8 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน จํานวน 1 ฉบับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนจำแนกได้ 3 ประเด็น ดังนี้ (1.1) ขาดความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เมตตากรุณา และอ่อนน้อมถ่อมตน (1.2) ขาดวินัยและความรับผิดชอบ (1.3) ขาด ความประหยัด และไม่รู้จักใช้ทรัพยากรส่วนตัว และส่วนรวมให้คุ้มค่า 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart เป็นกระบวนการดําเนินการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นวงจร PAOR & R (B) ประกอบด้วย 1) ขั้นการวางแผน (Planning) 2) ขั้นปฏิบัติการ (Action) 3) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection) และ 5) ขั้นผลลัพธ์ (Results of  Implementation) พฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม จริยธรรม (Behavioral Outcome) โดยผ่านการจัดกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม 8 ฐานกิจกรรม 3) นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา 4) ผลการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนของนักเรียน หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม, โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์

สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2560). จํานวนคดีจําแนกตามฐานความผิด. 5 สิงหาคม 2560. สืบค้นจาก

ชัยชนะ มิตรพันธ์. (2563). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19 รอดได้ด้วย Digital Technology. [Online]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563. จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=61791

ทิศนา แขมมณี. (2543). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์

ประยูร พรมสูตร. (2551). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านปะโค สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.darinmkl.com/doc/prayoon.doc.

พระมหาชานนท์ ชัยมงคล. (2561). การศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกริก.

พัชราพร ลัดดาพงศ์. (2543). ผลการฝึกสมาธิแนววัดคอยเกิ้ง แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ การรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดชลบุรี. ภาคนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาห้าปี พ.ศ. 2560 – 2564.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม2563. จากhttps://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49

สุริยา ผันพลี. (2552). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม : กรณีศึกษา โรงเรียนเซนต์ยอแซฟศรีสงครามสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(26), 91-100.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.2560.

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2546). หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สํานักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ : 2560.

อธิคุณ สินธนาปัญญา. (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อมรรัตน์ วงศ์ศรียา (2562). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.: กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Cronbach. A. (1990). Essentials of psychological testing (5" ed.). New York: Harper Colins.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Kohlberg, L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive-developmental. In Moral development and behavior: Theory, research and social issues. ed. T. Lickona, New York: Holt, Rinehart and Winston.