การพัฒนาและลดต้นทุนกระบวนการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรของกลุ่มชุมชนตำบลโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการทำสบู่สมุนไพรของชุมชน ตำบลโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิตสบู่สมุนไพร และเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรที่ทันสมัยตามความต้องการของผู้บริโภค
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่าในการศึกษาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นสูตรของกลุ่มชุมชนตำบลคำโคกสูง อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งก่อนที่ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาพบปัญหาว่า การทำสบู่สมุนไพรทั้ง 6 สูตร
ใช้พิมพ์สบู่สำเร็จรูปมาใช้ทำให้ได้สบู่สมุนไพรรูปแบบทั่วๆ ไป รวมถึงกระบวนการผลิตที่ยังเกิดการสูญเสียในขั้นตอนการผลิตและยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ของสบู่สมุนไพรที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงเริ่มศึกษาเก็บข้อมูลในกลุ่มชุมชนผลิตสบู่สมุนไพรว่ามีความต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร คือ ต้องการบรรจุภัณฑ์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยคิดเป็น ร้อยละ 20.00 มีความต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยม และรูปวงรี โดยคิดเป็น ร้อยละ 35.00 ต้องการรายละเอียดข้อมูลที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ชื่อสินค้า – ตราสินค้า
โดยคิดเป็น ร้อยละ 35.00 ต้องการต้นทุนของการทำบรรจุภัณฑ์ คือ ต้นทุน 0.75 - 1 บาท โดยคิดเป็น ร้อยละ 50.00 จากการพัฒนาในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเพิ่มคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจเพื่อเพิ่มราคาในการจำหน่ายทำให้สามารถมีกำไรเพิ่มขึ้นจากการขายสินค้า และในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องของการผลิตสบู่ การลดต้นทุนในการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ทำให้กลุ่มชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและน่าสนใจมากขึ้น ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กฤษติญา มูลศรี. (2551). ช่องทางการจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางชุมชน, มหาวิทยาลัยเพชรบูรณ์ คณะวิทยาการการจัดการ.
เชาวนี แย้มผิว และจันทนา แสนสุข. (2563). กลยุทธ์เศรษฐกิจของผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการวิทยาลัยตพล, 7(1), 39–48.
ประชิด ทินบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตว์.
วรรณิกา เกิดบาง. (2559). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านแย้ จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
วีรภัทร วัสสระ. (2558). การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์บุคคล : ปั้นคนให้เป็นแบรนด์ Personal Branding : Creating Brand Heroes.วารสารนักบริหาร, 31(1), 106-116.