ความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

พิพัฒน์พงศ์ เข็มปัญญา
จรินทร โคตรพรม
เนาวรัตน์ เสนาไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน
90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนีนครพนมด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนมมีความสุขในการทำงานโดยภาพรวมทั้ง 9 มิติ จัดอยู่ในระดับมีความสุข (“HAPPY” หรือ “ระดับความสุขตามเป้าหมาย”) มีคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 68.89
(S.D= 1.02) มิติครอบครัวดี มีคะแนนระดับความสุขสูงสุด จัดอยู่ในระดับมีความสุขอย่างยิ่ง (“Very Happy” หรือระดับความสุข
เกินเป้าหมาย) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 79.70 (S.D= 1.02) อย่างไรก็ตามมิติที่มีคะแนนต่ำสุดคือมิติสุขภาพเงินดี จัดอยู่ในระดับมีความสุข (“HAPPY” หรือ “ระดับความสุขตามเป้าหมาย”) มีคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 60.50 (S.D= 1.10) ดังนั้น
การพัฒนาความสุขในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ควรให้ความสำคัญภาพรวมทั้ง 9 มิติ โดยเฉพาะด้านมิติสุขภาพเงินดี อันจะทำให้วิทยาลัยฯได้พัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างทันท่วงที ผู้บริหารสามารถนำผลที่ได้มาวางแผนและดำเนินการ บริหารจัดการความสุขในการทำงานของบุคลกรทุกระดับในวิทยาลัยฯได้อย่างถูกจุดและถูกใจ เพื่อให้คนทำงานอย่างมีความสุขในการทำงาน เกิดความผูกพันในองค์กร และก่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุขได้อย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). ดัชนีชี้วัดความสุข. สืบค้น1 กันยายน 2564, (ออนไลน์แหล่งข้อมูลจาก http://www.sdhabhon.com/withyouwithUBU/EvaluationForm-HappinessIndices.pdf.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วินิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามลดา.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ภัทรดนัย ฉลองบุญ. (2018). ความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 590-599.

รักชนก น้อยอาษา และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2561). ระดับความสุขและรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานของบุคลากรสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6), 595-601.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, สุพิศ ฤทธิ์แก้ว, ญาณินี ทรงขจร และจาตุรนต์ ชุติธรพงษ์. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(1), 63-77.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ผลการสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) ปี 2560 ไตรมาส 1 (เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2560). นนทบุรี: บริษัท อัพทรูยู ครีเอทนิว จำกัด.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ผลการสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) ปี 2561 ไตรมาส 1 (เดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2561). นนทบุรี: บริษัท อัพทรูยู ครีเอทนิว จำกัด.

อภิรัฐ ศิริวงษ์. (2560). ศึกษาระดับความสุข 9 ด้าน ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (RSU National Research Conference 2017) วันที่ 28 เมษายน 2560.

อภิญญา โพธิจักร (2560). รายงานวิจัยความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลบึงกาฬ. สืบค้น 1 กันยายน 2564, ออนไลน์แหล่งข้อมูลจาก http://bkh.moph.go.th/kmbkh/wp-file/r2r-2560/r2r60_2.pdf.