11. คุณลักษณะของหัวคะแนนสตรีในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

แสงระวี พิมพรภิรมย์
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณสมบัติของหัวคะแนนที่เป็นผู้หญิง 2) เพื่อวิเคราะห์มุมมองของประชาชนต่อหัวคะแนนผู้หญิง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 50 คน 2) หัวคะแนน 50 คน และ 3) ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย และการใช้แบบสอบถามที่ได้ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ได้เท่ากับ 0.91 การนำเสนอข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และการตีความเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า หัวคะแนนหญิงที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นหัวคะแนนคือ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือในชุมชนในบทบาทต่าง ๆ กัน เช่น เป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านท้องถิ่น หรือภรรยาผู้นำในชุมชนหรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และที่สำคัญคือ เป็นผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองเป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ยังได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบกันกับหัวคะแนนชายหัวคะแนนหญิงจะมีความน่าเชื่อถือและคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นหัวคะแนนมากกว่าหัวคะแนนชาย ที่เป็นเช่นนี้ เพราะหัวคะแนนหญิงมีความอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ มีความซื่อสัตย์ มีสัจจะ รักษาคำพูดและสามารถนำเสนอนโยบายของผู้สมัครฯ ได้ดีกว่าหัวคะแนนชาย ส่งผลให้หัวคะแนนหญิงสามารถชักจูงให้ประชาชนคล้อยตามได้ จนนำไปสู่ความนิยมในตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้มากกว่าหัวคะแนนชาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู แก้วหานามและพิมพ์ลิขิต แก้วหานาม. (2563). ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(3), 190–205.

เกรียงศักดิ์ โชติจรุงเกียรติ์. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(1), 50–62.

ณัฐพงศ์ บุญเหลือ และสุวิชา วรวิเชียรวงษ์. (2561). นักการเมืองถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 163–173.

ธนิษฐา สุขวัฒนะ. (2551). สตรีกับการเมือง: ความเป็นจริง พื้นที่ทางการเมือง และการขับเคลื่อน. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.

นพพล อัคฮาด. (2556). วิธีการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(1), 40–71.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2547). สารานุกรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

วรลักษณ์ พุ่มพวง และสมเกียรติ วันทะนะ. (2556). บทบาทหัวคะแนนกับการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 2(2), 146–159.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2558) การศึกษาการเมืองถิ่นและนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 23-48.

วิชชุกร นาคธน. (2561). นักการเมืองถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา .วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 5(2), 1–15.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2558). การซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 16(1), 78–87.

ศิวัช ศรีโภคางกุล, อรรถพล เมืองมิ่ง, ถนอมวงศ์ สูรยสิมาพงษ์, ฌาน เรืองธรรมสิงค์ และเทอดศักดิ์ ไป่จันทึก. (2562). การศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2563). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 89–107.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี. (2563). ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดอุดรธานี. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563 จาก https://www.ect.go.th/udonthani/main.php?filename=index

สุรพล ชมกุล และทองแพ ไชยต้นเชือก. (2559). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 15(3), 103–118.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์. หน้า 14