ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล

Main Article Content

ญาณิน ดาจง
บงกช เจนชัยภูมิ
พูนสิน ประคำมินทร์
ทิพยวรรณ แพงบุปผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพลภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 79 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ED 501 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา จำนวน 79 คน
ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ (Check list) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert) และแบบสอบถามแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.71) ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีทัศนคติสูงสุดคือ ด้านความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.56, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะความเป็นครู (gif.latex?\bar{x} = 4.43, S.D. = 0.65) ส่วนข้อที่มีทัศนคติต่ำสุดคือ ด้านความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการสอน (gif.latex?\bar{x} = 4.10, S.D. = 0.70) 2) แนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยสันตพล คือ นักศึกษาต้องเรียนรู้การประสานงานและแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน แหล่งเรียนรู้วิทยาการและภูมิปัญญาต่างๆ โดยสถานศึกษาจะอำนวยความสะดวกให้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์. (2555). การศึกษาสภาพปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูนักเรียนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ.

จรูญศรี มาดิลกโกวิท. (2554). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนิสิต สาขาการสอนวิชาเฉพาะวิชาเอกธุรกิจ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธสิทธิ จันทร์คูเมือง และคณะ. (2562). การพัฒนาครูภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 104-117.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุจินดา ม่วงมี. (2558). บทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศตามการรับรู้ของนิสิตฝึกสอนอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2554). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.

เอกภูมิ จันทรขันตี, ชาตรี ฝ่ายคำตา และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2555). การศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี: รายวิชาการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(2), 150-165.