การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนกลุ่มทอผ้า ตราศิลานี ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีด้วยเว็บแอปพลิเคชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของชุมชนและกลุ่มทอผ้าไหมตราศิลาณี อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาการจัดการองค์ความรู้ ปราชญ์ชาวบ้านทอผ้าไหมตราศิลาณี อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 3) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ปราชญ์ชาวบ้านทอผ้าไหมตราศิลาณี อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 4) ประเมิน การพัฒนาระบบสารสนเทศของการจัดการองค์ความรู้ปราชญ์ชาวบ้านทอผ้าไหม ตราศิลาณี อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยมีเครื่องมือแบบประเมินเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชน , ความพึงพอใจการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนและการสัมภาษณ์และประเมินระบบสารสนเทศที่พัฒนาในรูปแบบเว็ป แอปพลิเคชันที่ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินโดยวิธีการ การสนทนากลุ่ม พบว่า ด้านความสามารถของระบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้อยู่ในระดับดีมาก ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบสารสนเทศเพื่อจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชน ตราศิลานี ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ อยู่ในระดับดีมาก ด้านความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับดีมาก ด้านความรวดเร็วในการทำงาน อยู่ในระดับดีมาก
นอกจากนี้ผลการทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชันจากปราช์ญชาวบ้านในชุมชน พบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่า ในด้านความสามารถของระบบตรงตามความต้องการของผู้ใช้อยู่ในระดับดีมาก ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบสารสนเทศเพื่อจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชน ตราศิลานี ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ อยู่ในระดับดีมาก ด้านความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับดีมาก ด้านความรวดเร็วในการทำงาน อยู่ในระดับดีมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
แก้วมณี อุทิรัมย์, จริญญา สันฐิติธนาวัฒน์, น้ำอ้อย จันทะนาม, แพรววิภา นิลแก้วและสุภาภรณ์ แสนทุนท้าว (2560). วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ตีนแดง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(2), 116-130.
ฉัตรชัย โตวราธรรม และฉัตร พยุงวิวัฒนากูล. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการองค์ความรู้ ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนลาวครั่งบ้านกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. ประชุมวิชาการระดับชาติการบูรณาการภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
มาริสสา อินทรเกิด, ชรินพร งามกลม และวิชุตา อยู่ยงค์. (2561).ศึกษาการอนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงของชุมชนบ้านหัวสะพานอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารธุรกิจปริทัศน์ Business Review, (10)1, 141-154.
วรารัตน์ วัฒนชโนบลและคณะ. (2558). การจัดการความรู้การทอผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดย สำนักงานบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ไวพจน์ ดวงจันทร์, จุฑามาส ทรายแก้ว, ฐาปนพงศ์ สารรัตน์, กิตติพล เทียนทอง, วัชรินทร์ ภิญโญศาตร์, สุดารัตน์ สอนบัว, สุธินี พันธุจิตร, ทิพยธัญญา แสงใส และอ้อยทิพย์ ณรงค์ชัย. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียการถ่ายทอดคติความเชื่อและภูมิปัญญาการออกลวดลายผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, (3)2, 223-234.
สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภคในยุค Digital Marketing. วารสารวิทยาลัยสันตพล, (5)1, 172-177.
อัญชลี บุบผามาลา และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมอีสานใต้-กัมพูชา (พิมาย-นครวัดนครธม). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สกอ. ชุดโครงการ แผนงานสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงวรรณธรรมจากทุนชุมชนสู่ชุมชนตามเขตอารยธรรขอมอีสานใต้-กัมพูชา