8. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์

Main Article Content

อัญชลี อ่ำประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ 2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชารหัสทางการแพทย์ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของวิชารหัสทางการแพทย์ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ และ 5) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษกและนักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 260 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีค่าความตรง (validity) ของเครื่องมือ อยู่ในระหว่าง 0.67-1 และจากการหาค่าความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.97


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยด้านการสนับสนุนจากผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับปัจจัยด้านเอกสาร สื่อและอุปกรณ์ที่สนับสนุนการเรียนการสอน และน้อยที่สุดคือ ปัจจัยด้านนักศึกษา 2) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ ในรายวิชารหัสทางการแพทย์ระดับ 4 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือรายวิชารหัสทางการแพทย์ระดับ 2 และน้อยที่สุดคือรายวิชารหัสทางการแพทย์ระดับ 3 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชารหัสทางการแพทย์ระดับ 1, 3, 4 ของนักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษกกับนักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชารหัสทางการแพทย์ระดับ 2 ของนักศึกษา สาขาวิชาเวชระเบียน ทั้ง 2 สถาบันนี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยด้านนักศึกษา และปัจจัยด้านอาจารย์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ของนักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน ทั้ง 2 สถาบัน ส่วนด้านปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหลักสูตร หน่วยงาน สถาบันการศึกษา และปัจจัยด้านนักศึกษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชาของนักศึกษาสาขาวิชาเวชระเบียน ทั้ง 2 สถาบัน 5) แนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านรหัสทางการแพทย์ ประกอบด้วย พัฒนารูปแบบการปรับพื้นฐานความรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง สร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเกิดความอยากเรียน พัฒนาทักษะการให้รหัสทางการแพทย์ พัฒนาการวัดประเมินผลในวิชาด้านรหัสทางการแพทย์ พัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในวิชาด้านรหัสทางการแพทย์ ปรับสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ สนับสนุนให้มีการจัดสอบ เพื่อวัดผลการให้รหัสทางการแพทย์แก่นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา และผลักดันให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาเวชระเบียน ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ดี มีความมั่นคงในวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิดชนก แสงวิโรจน์ฤทธิ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิชาบัญชีของนิสิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ปัญญา กันเกตุ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). หลักการให้รหัสทางการแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562. จากhttp://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/1397.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ AUN-QA. ค้นเมื่อ 21 กันยายน2562, จากมหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซต์: https://ka.mahidol.ac.th › news › newsFILE › AUNQA-MUKA.

มะลิวัลย์ ยืนยงสุวรรณ. (2560). การวิเคราะห์คุณภาพข้อมูลการให้รหัสโรค (ICD-10-TM) ในคลังข้อมูลสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 3(2), 63-72.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(2), 24-28.

วราภรณ์ พิมราช. (2560). ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการอภิปรายที่มีต่อความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลน้องหญิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(2), 167-175.

สรายุทธ เพ็ชรซีก. (2553). ปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ศึกษากรณีโรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF). ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เว็บไซต์: http://www .mua.go.th/users/tqf-hed/

สุนทรี เข็มทอง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาตสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row.