12. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

กัญสพัฒน์ นับถือตรง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร 3) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เคยใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าคุณภาพของเครื่องมือ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ค่าถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) จากข้อมูลประชากรศาสตร์ พบว่า อายุ รายได้ มีการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแตกต่างกัน และเพศ การศึกษา อาชีพ มีการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารไม่แตกต่างกัน 2) ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร และผลิตภัณฑ์ บุคคล สิ่งแวดล้อม กระบวนการ ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหาร 3) พฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการ ส่วนใหญ่จะใช้บริการสั่งอาหาร แอพพลิเคชัน Foodpanda ความถี่ในการซื้อสินค้า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ประเภทอาหารที่สั่งเป็นอาหารตามสั่ง วัตถุประสงค์หลักในการใช้บริการเพราะไม่มีเวลาเพียงพอในการดำเนินทาง มักซื้อสินค้าช่วงมื้อเที่ยง สั่งอาหารเมื่ออยากรับประทาน ตัดสินใจใช้บริการตามสื่อทางโทรทัศน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตณกร รูปเล็ก และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 68-77.

กัลยรัตน์ โตสุขศรี. (2552). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูสระผม “แพนทีน โปร-วี” ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 11(1), 52-66.

ณัธภัทร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19). วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(1), 92-106.

ธนาคารแห่งประเทศ. (2563). ธุรกิจร้านอาหารในยุคโควิด 19. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_EatGuide.aspx

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.

พัชพรกานต์ ศรีบุญเพ็ง และรองศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2562) พฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 3, (น.393-400).

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัลลิกา ตากล้า และทศพร มะหะหมัด. (2563). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสําเร็จรูปของสุภาพสตรีทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 68-77.

วริษฐา เขียนเอี่ยม และ ผศ.ดร.สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2562). บทบาทของเทคโนโลยีและกระบวนการต่อพฤติกรรมการสั่งอาหารทางออนไลน์. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 11, (น. 1408-1420).

วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา และอาษา ตั้งจิตสมคิด. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, (น. 1464-1478).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ธุรกิจร้านอาหารปี 2563 ได้รับผลกระทบจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3090.aspx

สุวสา ชัยสุรัตน์. (2537). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร. ภูมิบัณฑิตการพิมพ์.

เสรีวงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.

Grab.com. (2562). การเปิดบริการ Grad. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.grab.com/th/press/business/grab-launches-ride-hailing-service-in-trang/

Kotler, P., Keller, K. L. (2016). Marketing Management, (12th ed.) New Jersey: Pearson Eduction, 158-180.

Kotler, Philip and Gary Armstrong. (1996). Principles of Marketing (8th ed). Prentice-Hall, Inc.

marketingoops.com. (2563). สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคครึ่งปีแรก 2020 เปลี่ยนไปอย่างไรจาก COVID-19. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/consumer-insight-covid-19/

Rani, P. (2014). Factors influencing consumer behavior. Internation Journal of Current Research and Academic Review. 2(9), 52-61.

sawadee.co.th. (2563). ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563.

sites.google.com. (2554). ประชากรจังหวัดสุรินทร์. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://sites.google.com/site/insurinsurin/prachakr

Solomon, M.R. (2012). Consumer Behavior: Buying, Having and Being. (8th ed.) New Jersey: Prenice Hall.