ปัจจัยในการเลือกรับชมเนื้อหาและการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซดบนยูทูบในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กาญจนา บุตรจินดา
ธนาภรณ์ เหลืองสรรพสุข
นภัสสร บุญมี
ภูชิตา แก้วมโนรมย์
มานิตา ปุริเกษม
นริศรา ภาควิธี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะเนื้อหาเชิงการตลาด และปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซดบนยูทูบในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้การแจกแบบสอบถามออนไลน์ให้กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเจเนอเรชันแซดที่เกิดในช่วง พ.ศ 2540 - 2546 จำนวน 400 คน การประเมินคุณภาพของเครื่องมือวิจัยจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค พบว่าแบบสอบถามทั้งชุดมีความน่าเชื่อถือที่ค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 สามารถนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลได้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย) และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ)  


ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระทางด้านเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ เนื้อหาสร้างไอเดีย เนื้อหาที่ให้คำแนะนำหรือให้ความรู้ เนื้อหาที่สร้างความบันเทิง เนื้อหาที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และด้านการเลือกรับสื่อตามความสะดวกและนิยม การเลือกรับสื่อที่สอดคล้องกับตนเองนั้น มีผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซดผ่านแอปพลิเคชันยูทูบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .10  สำหรับปัจจัยตัวแปรอิสระด้านอื่นๆ พบว่าไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันแซด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ แสงด้วง. (2557). การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียผดุงปัญญา จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญานิพนธ์ ศษ.บ. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

โฉมสุดา ยงยืน. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทุ่งฝนพัฒนาศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสันตพล, 6(2), 184-192.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). ExecutiveFunctions- EF กับความพร้อมทางการเรียนในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ปาณิสรา ฤทธิ์เรืองเดช. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดทักษะเชิงบริหารทางสมอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปริญญานิพนธ์ ศษ.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. ปีพิมพ์ : 2544. ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2.

วัฒนา พัชราวนิช. (2531). หลักการแนะแนว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

วิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). แนวคิดการแบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบัน RLG (2561)

สุขอารมย์ เพิ่มพันธุ์วรวัฒน์. (2558). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อลดแนวคิดด้านวัตถุนิยมของนักเรียชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. มหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.