การจัดการคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรม ขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อุดม สมบูรณ์ผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวไทยที่มีต่อการจัดการคุณภาพการบริการ และภาพลักษณ์องค์กรโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาระดับความตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาอิทธิพลของการจัดการคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.801 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการจัดการคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี  ได้แก่ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการรับรู้และเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ โดยที่ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร ประกอบด้วย ด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านภาพลักษณ์ของโรงแรม มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562. กรุงเทพฯ : ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และอรณัฏฐ์ นครศรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าต่อโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 39-50.

จิรัฐ ชวนชม นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร ชิดชม กันจุฬา และพัชรพงศ์ ชวนชม. (2560). คุณภาพการบริการ คือ ความคาดหวังของลูกค้า. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 1-15.

ทัศนีย์ ธนอนันต์ตระกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจกระดาษในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นวิทย์ เอมเอก และปาริฉัตร ตู้ดำ. (2561). คุณภาพบริการ ภาพลักษณ์องค์การ และความพึงพอใจของลูกค้าที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟสายใต้. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 1592-1610.

วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย. (2555). ปทุมรามัญญธานีเทิดไท้องค์ราชันย์ ไทยรามัญย้อนรำลึก ชนชาติมอญ. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี.

โศภิษฐา เต็มรัตน์. (2561). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรมระดับ 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สวรรยา อินทร์จันทร์ และทิพย์รัตน์ แสงเรืองรอบ. (2560). ปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า:กรณีศึกษาโรงแรมอิสระระดับ 3 ดาวแห่งหนึ่ง ในย่านธุรกิจทองหล่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2559). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563 จากhttp://www2.pathumthani.go.th/

สุทธิสินี ถิระธรรมสรณ์ ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2561). รูปแบบคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคธุรกิจสปาในประเทศไทย. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(1), 18-32.

เสาวนีย์ คงเจริญพร และชลธิศ ดาราวงษ์. (2564). คุณภาพการบริการของบ้านเช่าที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการบอกต่อของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันติพล, 7(1), 72-78.

อรอนงค์ เกสรบุญนาค และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). อิทธิพลของคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่มีต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(1), 209-218.

Brace, N., Kemp, R., & Snelgar, R. (2012). SPSS for Psychologists. (5th ed.). New York: Palgrave Mcmillan.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper&Row.

El-garaihy, W.H. (2013). Developing and Validating a Hospitality Service Quality Scalein Saudi Arabia (HOSP-SQ) : A Structural Equation Model. International Journal of Business and Social Science, 4(14), 224-238.

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607 – 610.

Lai, W.-T., Chen, & C.-F. (2011). Behavioral intentions of public transit passenger. The roles of service quality, perceived value, satisfaction and involvement. Transport Policy, 18(2), 318-325.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. and Berry, L.L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The free press.