การจัดโปรโมชั่นสปาเพื่อเพิ่มยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าโรงแรมฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา

Main Article Content

มนัสนันท์ เม่งก่วง
ธิดาสวรรค์ อินสูนย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจัดทำโปรโมชั่นสปา 2) เพื่อศึกษายอดขายโปรโมชั่นสปา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสปา ของโรงแรม ฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา โดยการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเมนูสปา เทรนด์การใช้บริการและการส่งเสริมการขายเมนูสปาใหม่ เพื่อนำไปจัดรายการส่งเสริมการขาย วิเคราะห์ยอดขายและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ลูกค้าที่ซื้อโปรโมชั่นที่จัดทำขึ้นและได้มาใช้บริการสปาของโรงแรมฮิลตัน ระหว่างเดือน กันยายน ถึงเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว จำนวน 100 คน ใช้แบบประเมินการเข้ารับบริการของโรงแรม (Spa Consultation Form) เป็นเครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563 – มีนาคม 2564  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้โปรโมชั่นสปา จำนวน 4 รายการ ประกอบด้วย 1) Buy 1 Get 1 Free  2) Spa Limited 3) 11.11 Mega Sales และ 4) 12.12 Year End Hot Deals 2) ยอดขายโปรโมชั่นสปาที่ผู้ใช้บริการซื้อมากที่สุดคือ โปรโมชั่น Spa Limited คิดเป็นร้อยละ 65.80 ของยอดการซื้อทั้งหมด 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการที่มีต่อโปรโมชั่นสปา พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61 มีอายุระหว่าง 20 – 35 ปี และ 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 31 และร้อยละ 30 ตามลำดับ ถือสัญชาติไทย คิดเป็นร้อยละ 73.00 มีความพึงพอใจในการใช้บริการสปาภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.59 - 3.87) โดยด้านพนักงานต้อนรับมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศ ด้านทรีตเมนต์ และด้านพนักงานนวด ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). คู่มือผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วินัย 2509.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). สถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2564. จาก http://statv2.nic.go.th/Health/05030402_01.php [in Thai]

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2564.จาก www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.

จารีย์ พรหมณะ, ชุลีวรรณ ปราณีธรรม, ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ และ นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์. (2562). พฤติกรรมการเลือกใช้สปาของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารช่อพะยอม, 30(2), 119-130.

ชนิกานต์ ตรีวัย, ประยงค์ มีใจซื่อ, มนตรี พิริยะกุล และทรรศนะ บุญขวัญ. (2563). ตัวแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใชับริการสปาของผูับริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 255-267.

ฐิติพงษ์ โพธิพิพิธ และอรชร มณีสงฆ์. (2559). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้านนวดแสนสบาย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(1), 133-149.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ผกาพันธ์ อรพินท์เงิน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เพ็ญศรี วรรณสุข. (2556). คุณภาพบริการและกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพ ที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการของลูกค้า ธุรกิจสปาในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 4(1), 22-33.

ไพโรจน์ สมศรี. (2564). การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการ สปาในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับผู้อาศัยในท้องถิ่น. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2564. จาก http://www.northbkk.ac.th/gs/thesis/researchpaper/481300615.pdf

ภาณิกานต์ คงนันทะ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ บนถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ละอองทราย โกมลมาลย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการสปาในเขตคลองสาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศของไทย ไตรมาส 1/2563 P. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว 1(4), 25-29.

สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภคในยุค Digital Marketing. วารสารวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 172-177.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด : การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ไดมอน อิน บิสเน็ต เวิลด์.

หทัยรัตน์ สิทธิโชค. (2552). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการนวดแผนไทยที่ Health Land ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อุมาพร ศรีอุ่นลี และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 70.