การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จามรฤทธิ์ วิรัตน์เกษม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมที่บ่งบอกความสามารถในการอ่านในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 12) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 13) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงาน วิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ติดตาม ผลลัพธ์ (Results of Implementation) พฤติกรรมนิสัยการอ่าน (Behavioral Outcome)ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จํานวน 21 คน ประกอบด้วยผู้วิจัยและผู้บริหาร จํานวน 2 คน (ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ) คณะครู จํานวน 4 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 15 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จํานวน 372 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (เข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 2 ปี ในปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน186คน (เลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดที่สถานศึกษาเปิดสอน จำนวน 4 ห้องเรียน) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 186 คน (เลือกผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครอบครัวละ 1 คน) ครูประจําชั้น จํานวน 4 คน (เลือกครูประจำชั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนรายวิชาภาษาไทย)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น จํานวน 1 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 9 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 2 ฉบับ ฉบับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า1)สภาพและปัญหาด้านพฤติกรรมที่บ่งชี้ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำแนกได้ 6 ประเด็น ดังนี้ (1.1) ด้านการอ่านออกเสียง (1.2) ด้านการแบ่งวรรค (1.3) เจตคติที่มีต่อการอ่านออกเสียง (1.4) การใช้น้ำเสียง (1.5) ลักษณะและท่าทางในการอ่านออกเสียง (1.6) ความสามารถในการจับใจความตามเนื้อเรื่องของผู้อ่าน2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis&McTaggartเป็นกระบวนการดําเนินการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านที่เป็นวงจร PAOR & R (B) ประกอบด้วย (1) ขั้นการวางแผน (2) ขั้นปฏิบัติการ (3) ขั้นสังเกตการณ์ (4) ขั้นสะท้อนผล และ 5) ขั้นผลลัพธ์ ความสามารถในการอ่านและพฤติกรรมนิสัยการอ่าน 9 กิจกรรม 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในด้านการอ่านดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการฝึกจำนวน 9 กิจกรรม 4) ผลการประเมินพฤติกรรมนิสัยการอ่าน (Behavioral Outcome) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการฝึกความสามารถในด้านการอ่าน จำนวน 9 กิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมนิสัยการอ่านอยู่ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุวิชากรพงศ์, &วรวรรณ เหมชะญาติ. (2557). บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมนิสัยรักการ อ่านของเด็กอนุบาล PARENT’S ROLE IN PROMOTING READING HABITS OF KINDERGARTENERS. An Online Journal of Education, 9(1), 236-245.

กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ. (2561). บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. An Online Journal of Education, 13(2), 16–29.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 10/2564.(2564, 18 กรกฎาคม).ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 6.

จุรีพร กาญจนการุณ. (2556). การดำเนินการจัดโครงการพัฒนาการอ่านในโรงเรียนวัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(2), 1-17.

ชัยชนะ มิตรพันธ์. (2563). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด-19 รอดได้ด้วย Digital Technology. [Online]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563. จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=61791.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

บุญยง ทับทอง (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาล เพชรบุรี.Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(1), 1976-1993.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เรียนออนไลน์ช่วงโควิด ส่งผลเด็กหลุดจากระบบ 24 ล้านคนทั่วโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/education/news-599904.

ประยูร พรมสูตร. (2551). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านปะโค สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.darinmkl.com/doc/prayoon.doc.

พัชราพร ลัดดาพงศ์. (2543). ผลการฝึกสมาธิแนววัดคอยเกิ้ง แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ การรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดชลบุรี. ภาคนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิชญา สุวรรณโนและคณะ. (2560). ปัญหาการอ่านของนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี)จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8, 597 – 607.

ไพฑูรย์ แวววงศ์ และ ยาใจ พงษ์บริบูรณ์.(2562). การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถ การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus 6.1 (2019): 236–249.

ภูเมธ ฐิติชโยดม. (2562). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เมทริกซ์. Humanities and Social Sciences Journal of PibulsongkramRajabhat University, 13(1), 305-318.

ภัสราภรณ์ ณ พัทลุง. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโด สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 9-17.

มติชนออนไลน์. (2564). นักวิชาการเสนอหยุดเรียนทั่วประเทศ 1 ปี เหตุเรียนออนไลน์ไร้ประสิทธิภาพ งานวิจัยชี้เด็กเครียด ทำโดดเรียนกว่า 20%. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/education/news_2873877.

มธุรส ประภาจันทร์. (2559). ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 9(1), 696-697.

วิไลวรรณวัชรวิชานันท์ (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: กรณี โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่าย มัธยม). บรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 148-160.

สร้อยสน สกลรักษ์และคณะ.(2560). การศึกษารูปแบบวิธีการสอนและวิเคราะห์เปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ของการสอนอ่าน-เขียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 9. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย (Journal of Research Methodology: JRM), 30(3), 303 – 327.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2537). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม2563. จากhttps://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49.

สุริยา ผันพลี. (2552). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม : กรณีศึกษา โรงเรียนเซนต์ยอแซฟศรีสงครามสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(26), 91-100.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ.กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

(พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ. 2560.

สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการดำเนินงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย “ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” และ “นักเรียนชั้นป.1 เมื่อจบชั้นป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้และมีมาตรการการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: แม็ทช์พอยท์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562.

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). จำนวนและอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2543 – 2561. เข้าถึงได้จาก http://social.nesdc.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=3759&template=1R2C&yeartype=M&subcatid=21.

Kemmis, S &McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Kohlberg, L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive-developmental. In Moral development and behavior: Theory, research and social issues. ed. T. Lickona, New York: Holt, Rinehart and Winston.