ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี ความเป็นมา และหลักการความรับผิดทางอาญาของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ (2) ศึกษาถึงแนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาและการสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานภายใต้ ประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายการเดินอากาศของประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาและการสืบสวนสอบสวนในอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และแคนาดา กับประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายการเดินอากาศของประเทศไทย และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนากฎหมายในการกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 กฎระเบียบ ข้อบังคับ อนุสัญญา แนวทางปฏิบัติที่ดีในการพิจารณาพิพากษาคดี บทความ วารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์
และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศอย่างเป็นระบบ
ผลการวิจัยพบว่า (1) เมื่อมีการเดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคืออุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน ส่งผลให้นานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างแนวปฏิบัติร่วมกันทำให้เกิดองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตามมาด้วยอนุสัญญาชิคาโก (2) หลักการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานตามอนุสัญญาชิคาโก มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าศาลไทย สหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย และแคนาดาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศในกรณีอุบัติเหตุรูปแบบเดียวกันแตกต่างกันออกไปโดยกระบวนการพิจารณาคดีของสหรัฐอเมริกานั้นได้วางหลักให้นักบินผู้ควบคุมอากาศยานจะต้องรับผิดชอบในขั้นต้นตามอนุสัญญาชิคาโก แต่ศาลของประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย แคนาดา และไทยใช้หลักความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้กับนักบินหรือผู้ควบคุมจราจร
ทางอากาศซึ่งต้องพิจารณาในส่วนของหลักการกระทำโดยเจตนาและประมาทเลินเล่อ (4) สมควรมีการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมการบินพาณิชย์. กองการสื่อสารและจราจรทางอากาศ. “กระบวนการบิน”. คำบรรยายเรื่องน่ารู้ในการเดินอากาศ. กรุงเทพฯ : กองการสื่อสารและจราจรทางอากาศ กรมการบินพาณิชย์. หน้า 1-2.
เกรียงศักดิ์ โชติจรุงเกียรติ์. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 2, อุดรธานี: ภาคอีสานการพิมพ์.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: พลสยามพริ้นติ้ง.
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์. ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศและผู้ประกอบการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 23.
ชลอ ว่องวัฒนาภิกูล. (2543). กฎหมายอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 3-5.
ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษ และวิธีการเพื่อความปลอดภัย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2547). กฎหมายอาญา : หลักและปัญหา, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ: นิติธรรม, หน้า 8.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2562). รายงานประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), หน้า 147.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เรียนออนไลน์ช่วงโควิด ส่งผลเด็กหลุดจากระบบ 24 ล้านคนทั่วโลก. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/education/news-599904.
ประเสริฐ ป้อมป้องศึก (2545). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายอากาศระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
สมชนก เทียมเทียบรัตน์, “การสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ ตอนที่ 4”. วารสารTRAINER, 42(สิงหาคม 2563), 44-46.
สมชาย พิพุธวัฒน์. (2552). กฎหมายเดินอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล, หน้า 237.
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. “องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ” ค้นคืน 19 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.caat.or.th/th.
หยุด แสงอุทัย. (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
AEROTHAI, “การทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ”, ค้นคืน 1 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.aerothai.co.th/th/services/การทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ.
Cecile Hatfield, “Problems of Representation of Air Traffic Controllers in Mid-Air Litigation”, Journal of Air Law and Commerce, Retrieved March 9, 2022 from : https://scholar.smu.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=&httpsredir=1&article=2358&context=jalc.
Helene Sasseville. (1985). The Liability of Air Traffic Control Agencies. Master of Laws, McGill University, p.107-108.
ICAO, “ICAO and the United Nations”, Retrieved 1 February 2022, from : https://www.icao.int/about-icao/History/Pages/icao-and-the-united-nations.aspx.
Michael Milde. (2008). International Air Law and ICAO. Eleven international Publishing: Utrecht.
NTSB Bar Association, “Aviation Professionals and the Threat of Criminal Liability How Do We Maximize Aviation Safety?”. AIR L. & COM, 67(3), p. 904.