การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/5 ปีการศึกษา 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านที่เกี่ยวกับตนเอง 2) เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านที่เกี่ยวกับส่วนรวม และ 3) เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
- ผลการวิจัยการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านที่เกี่ยวกับตนเองภาพรวมโดยพบว่า นักเรียน
ไม่ตื่นเต้นกับสถานการณ์ ให้ความสนใจขณะเรียนแต่ไม่นานถ้ามีคนมาขัดใจจะเกิดอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้เสียงดัง เอะอะโวยวายทันทีแต่รับผิดเมื่อทำผิด - ผลการวิจัยการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านที่เกี่ยวกับส่วนรวมภาพรวมโดยพบว่า ส่วนใหญ่
ให้ความสนใจในขณะเรียน ฟังครู ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน กล้าแสดงออกเข้าห้องเรียนตรงเวลาการส่งงานและการบ้านยังต้องคอยเตือนหรือกำกับอยู่ การทำงานยังขาดความเรียบร้อย - ผลการวิจัยการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้กับนักเรียนด้านการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบภาพรวมโดยพบว่า นักเรียนนำแบบอย่างที่ดี ทั้งความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อผู้อื่น มีความประพฤติคุณธรรมความดี มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา เป็นผู้เสียสละ และปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ข้อเสนอแนะจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งด้านต่อตนเอง ด้านส่วนรวม และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน รวมทั้งเห็นคุณค่าของการปรับพฤติกรรมตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
คุณวุฒิ ภิรมย์ลาภ. (2557). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาดโรงเรียนมัธยมศึกษา เทศบาล 3 “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร. ในวิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จำลอง สุริวงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเอกชนให้บุตรหลานของผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพิจิตร. ในวิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ธนพงษ์ คำเกษ. (2557). การพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนชุมชนเอื้อก่อนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พรทิพย์ โกกิลารัตน์. (2561). การพัฒนาวินัยนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแปนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. ในวิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ฮาซันพริ้นติ้ง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2557). การประกันคุณภาพ การศึกษาระบบการบริหารงานคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : องค์การมหาชน.
สราวุธ เย็นเอง. (2561). การปรับพฤติกรรมผู้เรียนด้านความรับผิดชอบโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวกและการชี้แนะ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร, 2(1), 10-25.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610