4. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รอง ปัญสังกา
ยืนยง ไทยใจดี
มีศักดิ์ แสงศิลา
วิทร วิภาหัสน์
วรพล คล่องเชิงศร
จรวยพร ธรณินทร์
มิลินท์ เจริญชนม์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ในสถานศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา
4) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเบ่งชั้น และทำการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า  5  ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
อย่างง่ายของเพียร์สัน


ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 


  1. สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม และรายด้าน

  2. การจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมและ
    รายด้าน อยู่ในระดับมาก

  3. การเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

  4. การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา
    แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน

5.  ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจพร วาทีกานท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รอง ปัญสังกา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. เลย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 1.

ศิริพร มีพรบูชา. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://anyflip.com/hezgl/gonk/basic.

Ali, N. H., & Rosli, R. A. H. M. (2019). Digital technology : E - content development using Apple technology. Malaysian Journal of Distance Education, 21(1), 83.

Herbert, A. Simon. (2007). Administrative Behavior. New York : Macmillan.

Mcclelland, D. C. (1999). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist,

(1), 1 - 14.

Peter Drucker. (2006). The practice of management. New York : Haper & Row, Publishers.