การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบัญชี ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ยุทธนา จันทร์ปิตุ
ชลลดา นรินทร์
นฤมล ชินวงศ์
รติพร มีชัย
สำเริง นนศิริ
กิตติกรณ์ หนองหารพิทักษ์
จักรพันธ์ จันทลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)-ศึกษาสภาพการจัดทำบัญชี และระบบบัญชี 2)-ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ
บัญชี และ 3)-พัฒนาระบบบัญชี ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การพัฒนาระบบบัญชี และแบบประเมินผลความพึงพอใจ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดทำบัญชีและระบบบัญชี มีสมุดเพียงเล่มเดียว สำหรับการบันทึกรายการค้า โดยทั้งหมดเป็นการจดบันทึกบัญชีด้วยมือ และเอกสารที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชี คือ ใบเสร็จรับเงิน มีการจัดทำรายงานทางการเงิน คือ
งบกำไรขาดทุน 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี โดยรวม คือ ขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน และ
ขาดเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และ 3) ระบบบัญชีได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสม ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ รายงานทางการเงินมีความชัดเจน และนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยใช้สมุดบัญชี 4 เล่ม ประกอบด้วย สมุดเงินสด สมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภท และสมุดบันทึกต้นทุน  และระดับความเห็นต่อการพัฒนาระบบบัญชี พบว่า ระบบบัญชีมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.76)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกรมส่งเสริมการเกษตรกร. (2563). กรมส่งเสริมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563 จาก http://smce.doae.go.th/index.php?news=all

ชลลดา เหมะธุลิน, นฤมล ชินวงศ์ และยุทธนา จันทร์ปิตุ. (2561). ปัญหาในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประเภทจักสานในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 8(1), 51-57

ชาญชัย มะโนธรรม. (2558). วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1), 133-148.

ดุษณีย์ ส่องเมือง. (2562). การออกแบบระบบบัญชี. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

นิธิภักดิ์ กทิศาสตร์. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนสู่ตลาดอาเชียน กลุ่มเสื่อกก บ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

บันเฉย ศรีแก้ว, วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ และปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ: กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 22(2), 121-130.

พุทธมน สุวรรณอาสน์. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 84-96.

ไพโรจน์ พรเจริญ. (2563). การจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 22(2), 9-18

ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว. (2558). การพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มอาชีพบ้านหนองกะโห้ อำเภอเมืองตาก. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2), 121-130.

วัชรินทร์ อรรคศรีวร. (2561). การศึกษาและพัฒนาการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การผลิตประมงและเกษตรอินทรีย์ บนพื้นฐานการพัฒนาเศรษกิจฐานราก กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สัจวัฒก์ วรโยธาและคณะ. (2561). การพัฒนาระบบบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 81-89.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุดรธานี. (2558). กรมพัฒนาชุมชน กระทรางมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563 จาก https://udon.cdd.go.th

อุเทน เลานำทา. (2559). การวางระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.