9. การเยียวยาจากรัฐของผู้ต้องหาที่ถูกทำร้ายร่างกายในชั้นสอบสวน

Main Article Content

เกณิกา โสดาศรี
สุนทรี บูชิตชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการเยียวยาผู้เสียหายจากรัฐของผู้ต้องหาที่ถูกทำร้ายระหว่างสอบสวน ในปัจจุบัน
มีการเผยแพร่ข่าวตามสื่อถือการกระทำของพนักงานสอบสวนอันเป็นการกระทำที่ทำร้ายร่างกายของผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน
เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พนักงานสอบสวนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยกฎหมายให้อำนาจตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 17 กลับเป็นผู้กระทำความผิดในฐานความผิดกฎหมายอาญาเสียเองโดยการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน ซึ่งมิได้คำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาที่มีการรับรองและเป็นที่ยอมรับโดยสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตามแนวคิดที่ว่า “ทุกคนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายซึ่งต้องพิจารณา
โดยเปิดเผย” เพื่อความเท่าเทียมของมนุษย์รัฐควรจะต้องเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ต้องหาซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2560


จากการศึกษาแนวทางการเยียวยาผู้เสียหายจากรัฐของผู้ต้องหาที่ถูกทำร้ายระหว่างสอบสวน พบประเด็นปัญหาของพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าใช้จ่ายและค่าทดแทนจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง  พ.ศ.2559)เนื่องจากไม่มีบทนิยามของคำว่า “ผู้ต้องหา” รัฐจึงไม่มีการเยียวยาผู้ต้องหาที่ถูกทำร้ายระหว่างสอบสวนเนื่องจากการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายนั้นให้ถือว่าผู้ต้องหาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดถึงแม้ว่ายังไม่มีคำพิพากษาจนถึงที่สุดก็ตาม เหตุแห่งความตายของผู้ต้องหาเป็นอันทำให้คดีอาญาระงับไปจึงมิได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์  ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐจึงต้องจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาที่ถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในชั้นสอบสวน ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เป็นการขัดแย้งกับหลักปฏิญญาสากลระหว่างประเทศทุกคนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้ต้องหามีสิทธิ์ได้รับสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะได้พิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายซึ่งต้องพิจารณาโดยเปิดเผย หากผู้ต้องหาเสียชีวิตระหว่างสอบสวนนั้นคดีอาญาย่อมระงับไป จึงไม่ได้รับการพิสูจน์ความผิด แต่อย่างไรก็ตามความผิดทางอาญาที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายของผู้ต้องหา จึงทำให้ผู้ต้องหาตกเป็นผู้เสียหายจากการดำเนินคดีโดยรัฐ ดังนั้นผู้ต้องหาจึงควรได้รับการเยียวยาจากรัฐเช่นเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติขจร รัตนสวัสดิ์. (2529). การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.(2550). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.โครงการพัฒนากฎหมายและประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจําเลยใน คดีอาญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรฐานสากล. รายงานฉบับสมบูรณ์. [ม.ป.ป.]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์.

คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญาการทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา

จุรีรัตน์ ตรัยภูมิ. (2556).เรื่องสิทธิของผู้ต้องหาในการได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายจากรัฐในคดีอาญา.วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชนัญญา กิจทวี, การชดเชยความเสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในคดีอาญาโดยรัฐ, นิติศาสตร์มหาบบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2546, หน้า114

ถวิล สุนทรศารทูล. (2503). วิธีปฏิบัติในการสืบสวน สอบสวนคดีอาญา. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น : กรมการปกครอง.

ธีรวุฒ นิลเพชร์. (2562). เรื่องแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนด้านการคุ้มครองสิทธิ

เสรีภาพของผู้ต้องหาเพื่อให้สอดรับตามพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานสอบสวนในกองบัญชาการตํารวจนครบาล9. (ม.ป.ท.). วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญเกื้อ สมนึก, รตญา กอบศิริกาญ และ กิติพร บุญอ่ํา. (2555). สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

เสน่ห์ จามริก. (2544). สิทธิมนุษยชนเกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:สํานักงานสิทธิมนุษชนศึกษาและการพัฒนา.

เสียงชัย สุมิตรวสันต์ (2537). การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาก่อนการประทับฟ้องโดยองค์กรศาล.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Amnesty international Thailand. (2560). ปฏิญญาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/what-udhr/

Bundesminnisteriem derjusitz. (2019). Gesetz Über Die Entschädigung Für strafverfolgung abnahmen. Retrieved April 25, 2022, from https://www.gesetze-iminternet.de/streg/ BJNR001570971.html