3. การพัฒนากลยุทธ์การตลาดบริการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหาร ในจังหวัดชุมพร

Main Article Content

ธนภร จรูญนิมมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ กลยุทธ์ทางการตลาดบริการ และการรับรู้คุณค่าของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการรับรู้คุณค่าของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร และ 3) พัฒนากลยุทธ์การตลาดบริการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่ใช้บริการร้านอาหารในจังหวัดชุมพร จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 40 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้บริการ 1-3 ครั้งต่อเดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะเพื่อนฝูง/ครอบครัว ช่วงเวลาที่ใช้บริการเสาร์-อาทิตย์ ระยะเวลาที่ใช้บริการ 1-2 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่าย 500-1,000 บาท และผู้มีส่วนร่วมในการใช้บริการ 3-4 คน ระดับกลยุทธ์การตลาดบริการ ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ระดับการรับรู้คุณค่าของธุรกิจ ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดบริการมีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) กลยุทธ์การตลาดบริการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดชุมพร ประยุกต์ส่วนประสมการตลาดเชิงบูรณาการ มี  7 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ (2) กลยุทธ์เพิ่มคุณค่าบริการ (3) กลยุทธ์สร้างแบรนด์ (4) กลยุทธ์ตอบสนองลูกค้า 5) กลยุทธ์สื่อสารการตลาด 6) กลยุทธ์สร้างความร่วมมือ 7) กลยุทธ์ผสานช่องทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/home/main.html. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563].

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/ T26/T26_2019.02.pdf. [สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563].

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

กิตติกร เรืองขํา, ยุวเรศ มาซอรี และกิตติกาญจน์ กาญจนะคูหะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้สถานการณ์ Covid 19 ธุรกิจร้านอาหารริบส์แมน อำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 5-7.

จุฑาทิพย์ ทองศรี. (2560). การให้ความสำคัญและการรับรู้กลยุทธ์การตลาดบริการโดยใช้กลยุทธ์ Q-MARK ของลูกค้าร้านเบเกอรี่คาเฟ่ในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณปภา หอมหวน, ธนวันต์ สิทธิไทย และอารี น้อยสำราญ. (2562). การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดบริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในกลุ่มท่องเที่ยว เขต Royal Coast (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระนอง) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันในการเปิดเสรีการค้าอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 70-82.

ธัญรัตน์ รัตนกุล. (2558). การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้ของสตรีในเขตกรงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิศาชล รัตนมณี, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาองค์การโดยใช้พันธมิตรเชิงกลยุทธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 176-186.

สำนักงานสถิติจังหวัดชุมพร. (2562). รายงานสถิติจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2562. ชุมพร: ชุมพรการพิมพ์ 2.

สุวิมล มธุรส. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

อริญชย์ ณ ระนอง และวุฒิศักดิ์ เจริญวงศ์มิตร. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดเล็ก กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 2(2), 74-78.

อัมพล ชูสนุก, เมขลา สังตระกูล, ฉวีวรรณ ชูสนุก และกิตติ เจริญพรพานิชกุล. (2561). อิทธิพลของคุณค่าที่รับรู้ต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาซื้อซ้ำ ของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 22(1), 96-113.

Aaker, D.A. (2010). Building Strong Brands. London: Simon & Schuster UK Ltd. Baek, Tae Hyun, Kim, Jooyoung, & Yu, Jay Hyunjae. (2010). The differential roles of brand credibility and brand prestige in consumer brand choice. Psychology & Marketing, 27(7), 662-678.

Bowie, D., & Buttle, F. (2011). Hospitality marketing principles and practice. (2nd ed.). London: Taylor & Francis Group.

Hellier, P. K., Geursen, G. M., Carr, R. A., & Rickard, J. A. (2003). Customer Repurchase Intention: A General Structural Equation Model. European Journal of Marketing, 37(11/12), 1762-1800.

Ismail, T.A.T., Muhammad, R., Yusoff, N.M., and Shariff, M.S.M. (2016). The Myth and Reality of Hotel Brand and Food Quality: The Case of Hotel Restaurants in Malaysia.

Koichi, S. (2009). Advertising theory and strategies. (6th ed.). Janpanese: Souseisha Book Company.

Kotler, Philip & Keller, Kevin Lane., (2012). Marketing Management. (12th ed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.

Lovelock, C. & Wirtz, J. (2012). Services marketing: people, technology, strategy. (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Macdonald, M. & Wilson, H. (2016). Marketing Plans: How to prepare them, how to profit from them. (8th ed.). United States : John Wiley & Sons Inc.

Patterson, P. & Spreng, R. (1997). Modeling the relationship between perceived value, satisfaction and repurchase intentions in a business to business, service context. International Journal of Service Industry Management, 8(5), 414-434.

Roig, J. C. F., Garcia, J. S., Tena, M. A. M. & Monzonis, J. L. (2006). Customer Perceived Value in Banking Services. International Journal of Bank Marketing, 24(5), 266-283.

Saviolo, S., & Marazza, A. (2013). Lifestyle brand: A guide to aspirational marketing. Hampshire: Palgrave Macmillan.

Schiffman & Kanuk. (2000). Customer behavior – Psychology aspects. New Jersey: Prentice-Hall.

Tran TP. (2017). Personalized ads on Facebook: an effective marketing tool for online marketers. Journal of Retailing and Consumer Services. 39(1), 230-242.

Woodruff, R. B. (1997). Customer value: the next source for competitive advantage. Journal of the Academy of Marketing Science, 25(2), 139-153.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Zeithaml, Valarie A. & Bitner, Mary Jo. (2000). Service Marketing: Integrating Customer Focus