7. การศึกษาแนวทางสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สิริพร อินทรธรรม
วิทร วิภาหัส
ประหยัด ฤาชากูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนีกงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 140 คน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 6 คน โรงเรียนขนาดกลาง 43 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแนวททาง 3) การสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group discussion) และ 4) แบบบันทึกการประชุม สถิคที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI)  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)


ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากดังนี้ 1) ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้ข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ 2) ด้านการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรวิชาชีพ 3) ด้านการสำรวจ และประเมินตนเองของครู 4) ด้านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างเครือข่าย ตามลำดับ และผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชนทั้ง 4 ด้านดังกล่าวโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2.สมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการสำรวจ และประเมินตนเอง ลำดับที่ 2 ด้านการศึกษาค้นคว้า ติดตามความรู้ และข่าวสารใหม่ ๆ ทางวิชาการ ลำดับที่ 3 ด้านการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการพัฒนาองค์กร และวิชาชีพ 3.แนวทางสมรรถนะด้านการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร โดยใช้หลักการแนวทางพัฒนาสมรรถนะ 70:20:10


3.1 รูปแบบการเรียนรู้ และพัฒนาจากการลงมือทำ เช่นการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ การมอบหมายงาน (Job Assignment) การประชุมปฏิบัติการ การดูงานนอกสถานที่ การหมุนเวียนภาระงานในองค์กร การติดตามเรียนรู้งานของผู้บริหาร


3.2 รูปแบบการเรียนรู้จากบุคคลอื่น คือ การใช้การโค้ง (Coaching) Peer-learning หรือเพื่อนช่วยเพื่อน การศึกษาดูงานจากบุคคลอื่น


3.3 รูปแบบการเรียนรู้ และพัฒนาจากการฝึกอบรม ทั้งรูปแบบ Classroom training และ E – learning การประชุมสัมมนา การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). “ครู” มืออาชีพ..อาชีพ “ครู” คนละเรื่องเดียวกัน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565. จาก (http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=8152&Key=hotnews)

ฉัตรชัย ดวงแก้ว. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 62(1), 101.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพมหานคร. : สุวิริยาสาสน์.

ปวีณา ลำพาย. (2554). ความต้องการของครูในการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัติญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม สาขาวิชาการพัฒนาศึกษาศาสตร์ ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พจน์ เพชรบูรนิน. (2528). การพัฒนาตนเอง. กรุงเพทมหานคร : คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. 2561. การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูประถมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร : ม.ท.ป.

OECD. (2019). PISA 2018 Results (Volume) : What Students Know and Can do, PISA, OECD Publishing, Paris, (https://www.oecd-ilibrary.org/education/pisa-2018-results-volume-i_5f07c754-en)