10. การศึกษาองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

Main Article Content

นิลาวัน เผ่าม่วง
วรพล คล่องเชิงศร
ทิพยวรรณ แพงบุปผา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี 3) สำรวจ และระบุองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี 4) ยืนยันองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างในโมเดลลิสเรล จำนวน 400 คน ด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.996  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสอดคล้องกลมกลืนของข้อมูล ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment correlation Coefficient) และสร้างโมเดลองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี


ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการศึกษาองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีองค์ประกอบ ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ 2) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี พบว่ามีองค์ประกอบ (ตัวแปรแฝง)  5 องค์ประกอบ และตัวแปรสังเกต 19 ตัวแปร 3) ผลการสำรวจและระบุองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี พบว่า สามารถระบุองค์ประกอบได้ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสาร ด้านความร่วมมือ ด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์การด้านเทคโนโลยี 4) ผลการยืนยันองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี พบว่า โมเดลองค์ประกอบของผู้บริหารสถานศึกษา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square = 287.38 p = 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.93 ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.91 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณค่าความคลาดเคลื่อนในพารามิเตอร์ (RMSEA) = 0.049

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยลัยศิลปากร.

ภัณฑิลา ธนบูรณ์นิพัทธ์. (2563). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563 จาก https://researchcafe.org/communications-technology-competencies-for-thai-teachers-in-the-21st-century.

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิภัทร มีแสงเพชร. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะผู้บริหารสถานศึกษา ยุคไทยแลนด์ 4.0 สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Hair Jr. et.al. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson New York: Pearson Education.