11. การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชนกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปาจรีย์ นาคะประทีป
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน จำนวน 365 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่าง 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9583 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร 1.1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการวางแผนและสรรหาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 1.3) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการบริหารการปฏิบัติงานและพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  1.4) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อสภาพพึงประสงค์ของการควรปฏิบัติเกี่ยวกับ ด้านการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการ English Program โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย การวางแผนและสรรหา การบริหารการปฏิบัติงานและการพัฒนา และการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ โดยผลการประเมินรูปแบบดังกล่าว ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ พบว่ารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความสามารถนำไปปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. มปท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอขยายโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ขนิษฐา จิตแสง. (2563). การสื่อสารระหว่างบุคคลจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์.

จิระพงค์ เรืองกุน. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เนชั่นไฮย์ 1954.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพ ศรีบุญนาค. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.

นัยนา ทรัพย์โรจน์ และเอกชัย กี่สุขพันธ์. (2557). การศึกษากระบวนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(3), 693-705.

มติกาญจน์ จิตกระโชติ และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2562). การบริหารสถานศึกษาเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 178-188.

มติกาญจน์ จิตกระโชติ และสุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 181-191.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2558). ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กรุงเทพฯ.

สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2558). โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (English Program : EP). กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์.

สุรีรัตน์ เอี่ยมกุล. (2542). การศึกษากระบวนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพฯ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์

อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่: บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(2), 26-34.

เอกอนงค์ ศรีสำอาง และปิยะนุช เงินคล้าย. (2559). การธำรงรักษาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 153-170.

Omebe, A. Chinyere. (2014). HUMAN RESOURCE MANAGEMENT IN EDUCATION: ISSUES AND CHALLENGES. British Journal of Education, 2(7), pp. 26-31.

Raymond, A. Noe, et al. (2019). Human Resource Management Gaining a Competitive Advantage. (11th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Yamanee, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed.). New York: Harper and Row Publications.