12. การพัฒนาชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี

Main Article Content

เกษร ขวัญมา
รัถยา เชื้อกลาง
ชนม์ธิดา ยาแก้ว
กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ระดับชั้นอนุบาล 3 อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บผลการทดลอง คือ แบบประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions) และแบบสังเกตพฤติกรรม ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที วิเคราะห์ผลการวิจัยที่ได้จากการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน เช่น  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัยมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 89.12 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 92.51 ซึ่งสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมนิทานเพลงสร้างสรรค์ ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ทดลองในการวิจัยครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  2) ผลการใช้ชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ส่งเสริมทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยจำนวน 9 ทักษะ เฉลี่ยรวมก่อนการทดลองเท่ากับ 4.04 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 และเฉลี่ยรวมหลังการทดลองเท่ากับ 4.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11 และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีผลการประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้กิจกรรมชุดนิทานเพลงสร้างสรรค์ทุกคน โดยมีค่า t-test เท่ากับ 4.24 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรารศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 1635-1651.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). ดนตรีกับทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 1175-1792.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบัน RLG. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมองEXECUTIVE FUNCTIONS สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ปจำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: รักลูกบุ๊ค.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รักลูก บุ๊คส์.

Diamond. (2013 Executive functions. Retrieved on April 14, 2018 from http://www.devcogneuro.com/Publictions/Executivefunctions2013.pdf.

Preda Ulita, A. (2016). Improving children’s executive functioning by learning to play a musical instrument. Bulletin of the Transilvania University of Brasov Series Vlll, 9(58), No 2, 85 – 90.