พฤติกรรมและทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พรรณปพร จันทร์ฉาย
ธัญญรัตน์ ศรีพัฒนะโชติ
วรางคณา ประภาวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อวัตถุมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเลือกเก็บข้อมูลการวิจัยแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อสอบถามข้อมูลกลุ่มผู้หญิงที่ซื้อหรือสวมใส่กำไรหินมงคลจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบทดสอบโดยใช้ T-test และ F-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


   ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการเช่าบูชาเครื่องรางประเภทกำไรหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการสวมใส่เพราะความเชื่อในโชคลางหรือปฏิหาริย์ รองลงมาคือเพื่อความสวยงาม บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าบูชาคือตนเอง อิทธิพลที่มีผลต่อการเช่าบูชาคือคำบอกเล่า รองลงมาคือข้อมูลทางช่องทางสื่อออนไลน์  ค่าใช้จ่ายในการเช่าบูชาต่อคนอยู่ที่ 1,000-1,500 บาท ด้านทัศนคติด้านความเชื่อในการบูชาวัตถุมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีผลต่อความเชื่อว่าจะสัมฤทธิ์ผลด้านการทำงาน/มีความรุ่งเรื่องในธุรกิจมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือสร้างความมั่นใจ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจบูชาเครื่องรางประเภทกำไรหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร 4 ด้าน ได้แก่    ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมากทุกด้าน


   ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อวัตถุมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน จำนวน 5 ด้านได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงศรี กูรู เอสเอ็มอี. (2564). ธุรกิจเครื่องประดับ: แข่งขันดุเดือดไทยอยู่แถวหน้า. สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/jewelry-business-match-heated-thai-forefront.

กฤติยา โพธิ์ทอง. (2557). ไทยบูชาร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชมรวี สุขโสม. (2562). รูปสัญญะของวัตถุนิยม. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถวัลรัตน์ กัลชาญกิจ และธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2559). บุคลิกภาพผู้บริโภค ความเชื่อโชคลาง และพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับหินสีมงคล. วารสารประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 9(2), 39-61. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565. จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jprad/article/view/132670.

ทำนอง วงศ์พุทธ และคณะ. (2559). ความเชื่อร่วมเรื่องเครื่องรางของขลังในเมืองชายแดน ไทย-ลาว-กัมพูชา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบราชธานี วิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 307-331. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565. จากhttps://so03.tci-thaijo.org/index.php/jla_ubu/issue/view/7795.

นัสทยา ชุ่มบุญชู. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อเครื่องประดับอัญมณี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. Journal of Management Science Nakhon Pathom RajabhatUniversity, 8(1), 320-330.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). หินมงคลเสริมพลัง…ที่พึ่งทางใจยามโควิดคุกคาม! .สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://mgronline.com/celebonline/detail/9630000042770.

ฟอร์จูนทาวน์ .(2565).สายมูเตลู ไม่ควรพลาด แนะนำเครื่องรางหินมงคล เสริมงานและความรัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://fortunetown.co.th/reviews/fortunetown-mutelu-bracelet/.

วรธนัท อชิรธานทน์. (2564). พลังความเชื่อและศรัทธาในวัตถุมงคลสู่เครื่องประดับอัญมณี. วารสารวิชาการ มจร เลย ปริทัศน์. 2(3), 50-61. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565. จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MCUL/article/view/257199/173552.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ. (2564). ห้ากระแสที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณีและแนวโน้มตลาดในปี 2021. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://infocenter.git.or.th/article/article-20210219.

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2564). สารสนเทศ: หินนำโชค พลอยถูกโฉลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.lib.ru.ac.th/journal/lucky_stone1.html.

อุบล ปานนิล .(2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านสังคมออนไลน์(แฟนเพจเฟสบุ๊ค) ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.

Dooddot.com. (2558). กำไลหินสีนำโชค” มาทำความรู้จักกับหินสีเสริมดวง เทรนด์แฟชั่น เครื่องรางที่กำลังมาแรงสุดๆวินาทีนี้! .สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.dooddot.com/gemstones-bracelet-trend/