กระบวนการสละสมณเพศเปรียบเทียบกับวิธีพิจารณาความอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามกฏนิคหกรรม เปรียบเทียบ วิธีไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2) เพื่อศึกษาสถานะ และ 3) สิทธิของ ความเป็นภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาและถูกบังคับให้สละสมณเพศ โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำรา บทความ กฎหมาย สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ด้วยวิธีการเขียน แบบพรรณนาความ
ผลจากการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการสละสมณเพศของพระภิกษุสงฆ์มีลักษณะใกล้เคียงกับกระบวนพิจารณาคดีอาญา คือ 1) องค์ประกอบของการฟ้อง 2) ขั้นตอนการพิจารณา 3) ประเภทของพยานหลักฐาน 4) วิธีบังคับตามคําวินิจฉัย 2) สำหรับสถานะของ พระภิกษุที่ต้องหาว่ากระทำผิดทางอาญาและไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต้องสละสมณเพศ สถานะความเป็นพระสิ้นสุดลง ในกรณีที่พระภิกษุต้องหาว่ากระทำผิดวินัยต้องถูกลงนิคหกรรมให้สึก ภิกษุนั้นต้องสึกต้องภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้ทราบคำวินิจฉัยนั้น 3) สิทธิของพระภิกษุที่ต้องสละสมเพศมีสิทธิในการต่อสู้คดี กรณีที่พระภิกษุถูกบังคับให้สละสมณเพศ และ ต้องสึกตามกฎนิคหกรรม สถานะพ้นจากความเป็นพระ แต่มีสิทธิบวชใหม่ได้ ผู้วิจัยจึงมี ข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 30/1 โดยมีข้อความดังนี้ “เมื่อคดีถึงที่สุดโดยพระภิกษุไม่มีความผิดหรือเป็นความผิดที่ไม่ต้องรับโทษทางจำคุก ให้คืนสถานะและสิทธิที่พึงมีก่อนถูกบังคับให้สละสมณเพศ”
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กมล สมวิเชียร. (2520). ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ. (2560). เอกสารประกอบการสอน วิชานิติปรัชญาและสังคมวิทยาทางกฎหมาย. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2556). เอกสารบรรยาย ดุลยภาพ ระหว่างการเมืองภาคนักการเมืองและการเมืองภาคพลเมืองกับหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ปลื้ม โชติษยางกูล. (2559). คําบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์, คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3) โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2559). หลักมหาปเทส 4 พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. สำนักพิมพ์ผลิธรรม ในเครือสำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2553). รัฐกับศาสนาบทความว่าด้วยอาณาจักรศาสนจักรและเสรีภาพ. (พิมพ์ครั้งที่3). สำนักพิมพ์สยาม.
เสถียร โพธิ นันทะ. (2540). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค2. (พิมพ์ครั้งที่3). มหามกุฎราชวิทยาลัย.