ผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายในหญิงวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

ไพวัน เพลิดพราว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายในหญิงวัยผู้ใหญ่ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบาต่อรูปร่างและสัดส่วนของร่างกาย ในหญิงวัยผู้ใหญ่ การวิจัยเชิงทดลองในสมาชิกของชมรมแอโรบิกดานซ์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตอุดรธานี โดยการเต้นแอโรบิกแบบหนักสลับเบา เป็นเพศหญิง จำนวน 40 คน อายุระหว่าง 30 – 50 ปี เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์แบบหนักสลับเบา กลุ่มทดลองฝึกตามโปรแกรมการเต้นแอโรบิกดานซ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มควบคุมฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ตามแบบที่นิยมทั่วไป ทำการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินโดยการวัดสัดส่วนคือขนาดของแขนท่อนบนซ้ายและขวา รอบเอว สะโพก ต้นขาซ้ายและขวา น่องขาซ้ายและขวา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที (t-test Independent) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า


1) กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ตามแบบที่นิยมทั่วไปและฝึกตามโปรแกรมการฝึกเต้นแอโรบิกดานซ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีสัดส่วนของร่างกายลดลงหลังจากการฝึก 8 สัปดาห์


2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสัดส่วนของร่างกายของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในการเต้นแอโรบิกดานซ์ พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยุทธ สุทธิดี. (2552). ผลของการฝึกด้วยโปรแกรมการเต้นแอโรบิกที่มีต่อความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและค่าดัชนีมวลกาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยา เรืองมาก. (2550). ผลการฝึกเต้นแอโรบิกในน้ำที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด.ปริญญา นิพนธ์ วท.ม.(วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ. (2555). ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. Journal of Nursing Science, 2, 46-57.

ศิริการ นิพพิธา และนภัสกร จิตต์ไพบูลย์. (2550). การศึกษาโปรแกรมการออกกําลังกายโดยใช้ยางยืด 2 ชนิด เพื่อ เพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. ศูนย์อนามัยที่ 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

สบสันติ์ มหานิยม. (2555). ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนร่างกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกด้วยน้ำหนัก. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.edu.kps.ku.ac.th/DBresearch/document/DB_RESEARCH/Research22.pdf

สุกัญญา พานิชเจริญนาม และสืบสาย บุญวีรบุตร. (2540). แอโรบิกทันสมัย. กรุงเทพฯ: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ.

Tomas et al. (2009). Aerobic interval training reduces cardiovascular risk factors morethan a multi treatment approach in overweight adolescents. Clinical Science, 116(4), 317-326

Wong et al. (2008). Effects of a 12-week exercise training programme on aerobic fitness, body composition, blood lipids and C-reactive protein in adolescents with obesity. Us National Library of Medicine National Institutes of Health, 37(4), 286-93.