มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงความยุติธรรมตามเป้าหมายที่ 16 การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ

Main Article Content

พันธุ์ทิพย์ นวานุช
พวงผกา มุ่งดี

บทคัดย่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 16 ว่าด้วยสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ซึ่งมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน โดยให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง ซึ่งครอบคลุมหลายประเด็นอย่างกว้างขวาง แต่บทความฉบับนี้มุ่งเน้นประเด็นมาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงความยุติธรรม โดยมีมาตรการทางกฎหมาย ดังนี้


  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยหลักนิติธรรม มีเกณฑ์การใช้อำนาจรัฐ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างต่อเนื่องเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชน

  2. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 8 มาตรา 37 และมาตรา 134/1 เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม

  3. กฎหมายอาญามาตรา 2 เพื่อคุ้มครองบุคคลจะไม่ถูกลงโทษเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้

  4. สนธิสัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตามเป้าหมายที่ 16 นั้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายมีความสมบูรณ์ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ต้องมีกฎหมายลำดับรองมารองรับให้ครบถ้วน พร้อมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กุลนิธี ขุนทองจันทร์. (2561). ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติในการรับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

จรัญ ภักดีธนากุล. (2556). นิติรัฐกับการปรับตัวของการเมืองไทย. โครงการตำราและเอกสารสอนประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2562). การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมต่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. สถาบันพระปกเกล้า.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ประพิณ นุชเปี่ยม. (2564). การเข้าถึงความยุติธรรมและหลักธรรมาภิบาล. คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557). คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฏหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิษณุ เครืองาม. (2552). หลักนิติธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ. เอกสารประกอบการประชุม สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.

วุฒิ ลิปตพัลลภ. (2558). หลักนิติธรรมกับการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของพนักงานสอบสวน. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อัครพล พูลผล. (2560). เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ในประเด็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อริยพร โพธิใส. (2564). มาตรการใหม่แทนการลงโทษทางอาญา. จุลนิติ, ปีที่ 18 (ฉบับที่ 3), (พ.ค.-มิ.ย. 2564).