การป้องกันเด็กเสพติดเกมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันนี้ ปัญหาการเสพติดเกมออนไลน์ ถือเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เป็นเรื่องที่สังคมต้องหาทางแก้ไข เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งเย้ายวนใจอย่างมากมาย อาทเช่น สื่อเกมออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต เพราะเด็กสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา ทำให้ผู้ปกครองกังวลใจว่าเด็กจะเกิดอาการเสพติดเกมออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการต่างๆ ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย พัฒนาการด้านสมอง ด้านอารมณ์ และอื่นๆ แต่ก็มีวิธีการป้องกันและแก้ไขอาการเสพติดเกมของเด็กได้ โดยเริ่มต้นจากผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ต้องสังเกตุอาการของเด็ก ว่า 1) มีการใช้เวลากับการเล่นเกมมากเกินไป 2) แสดงความก้าวร้าวเมื่อไม่พอใจ 3) ไม่มีสมาธิกับการเรียน และ 4) เริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก ซึ่งเมื่อเริ่มต้นสังเกตุแล้ว พบว่ามีอาการดังกล่าว ให้แก้ปัญหาโดยการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สร้างวินัยในชีวิตประจำวันให้เด็กใหม่ จำกัดชั่วโมงการเล่นเกมหรือเล่นอินเทอร์เน็ต หากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับเด็กมากขึ้น ให้รางวัลเมื่อพวกเขาทำกิจกรรมอื่นๆ สำเร็จ และปรึกษาพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ขวัญจิต เพ็งแป้น. (2560). การป้องกันปัญหาภาวะสุขภาพของเด็กติดเกมออนไลน์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Journal of Ratchathani Innovative Health Science, 1(1).
ชาญวิทย์ พรนภดล และคณะ. (2557). คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง “เรื่องการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและวัยรุ่น”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท มีเดียโซน พริ้นติ้ง จำกัด
นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2551). พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันในนักเรียนวัยรุ่นไทยและญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปรานี ปวีณชนา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น. 2565. บทความ “การเสพติดเกม”. โรงพยาบาลมนารมย์
ศิริวรรณ ปัญญากาศ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงในสื่อเกมออนไลน์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยรุ่นตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สํานักหอสมุด.
ประเภทและชนิดของเกม. (2557). สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2559 จาก http://guru.sanook.com/27010/.
รอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง : กรณีเด็กกับไอที. สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2566 จาก http://crtremote.blogspot.com/.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2559). เกมออนไลน์. สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2559 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C
อัครเดช หอมเจริญ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมตนเองกับพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (การค้นคว้าแบบอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.