17. การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนัทธวัฒน์ วรวัชรบวรชัย
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์
ปาจรีย์ นาคะประทีป
จักษ์ จิตตธรรม

บทคัดย่อ

การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนมีความสำคัญสำหรับทุกคนในโรงเรียนเนื่องจากเป็นสถาบันที่ให้ความรู้สู่ความประสบความสำเร็จในชีวิตการศึกษาของนักเรียน รวมถึงความสุขในการทำงานของบุคลากรที่เป็นส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรให้สำเร็จจากสถานการณ์ความรุนแรง ภัยพิบัติ สิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อจิตใจ ชีวิต ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายสามารถมีผลกระทบต่อบุคคลต่างๆภายในโรงเรียน ซึ่งผู้บริหาร บุคลากร ครูต้องร่วมกันดำเนินงาน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัย การมีแนวทางการปฏิบัติความปลอดภัยในโรงเรียนให้เกิดขึ้นเพื่อทำให้เด็กนักเรียนเกิดความปลอดภัยสูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม บุคลากรในโรงเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงสามารถนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน  ดังนั้น การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนจึงเป็นภารกิจหลักของโรงเรียนที่จะต้องมีนโยบายเพื่อรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย 1) หลักการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดการภัยพิบัติในโรงเรียน และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 2) การจัดขอบข่ายความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ ภัยจากความรุนแรงของมนุษย์ ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ์ และภัยจากสุขภาวะทางกายและจิตใจ และ3) การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปรามการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม สิ่งเหล่านี้จึงเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก เช็ก 4 มาตรการป้องกัน "ลืมเด็กในรถ" เผยสถิติ 7 ปี เกิดเหตุ 129 ครั้ง (bangkokbiznews.com)

ทั่วไทย. (2565). เดลินิวส์ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก เดลินิวส์ 7 ต.ค. มีดฟันจ่อยิงหัวทีละคน ฆ่าเด็ก-ครู-ปชช.37ศพ. เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

ทั่วไทย. (2565). เดลินิวส์ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก 'หมอนิติเวช' ลั่นแง้มหน้าต่างไว้ก็ไม่ได้-อันตราย ชี้เด็กติดในรถไม่ได้ขาดอากาศตาย. เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

ทั่วไทย. (2566). เดลินิวส์ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก รร.แจงหนังคนละม้วน! ไร้คนบูลลี่ ม.3 ชี้เป็นคนอารมณ์ร้อน ดิ่งตึกชั้น 4 ลงมาเอง. เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

ทั่วไทย. (2566). เดลินิวส์ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก สลดเด็กสาว 15 ผูกคอลาโลก ทิ้งจดหมายระบาย เหตุถูกเพื่อนบูลลี่หน้าตา!. เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (2550). คู่มือครู การจัดระบบความปลอดภัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ส.เสริมมิตร การพิมพ์.

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. (2563). คู่มือป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก. กรุงเทพฯ:

ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2557). คู่มือการคุ้มครอบและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือแนวทาง การจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในโรงเรียนและการจัดทำแผนอพยพฉุกเฉินเฉพาะบุคคลสำหรับนักเรียนที่มีความ ต้องการจำเป็นพิเศษ. กรุงเทพฯ:.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางจัดการภัยพิบัติในสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและ มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อาชญากรรม. (2565). เดลินิวส์ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566. จาก โอนไป 65 ครั้ง! แก๊งคอลฯแสบหลอกเด็ก 10ขวบ ล้วงข้อมูลพ่อ สูบเงิน 1.2 ล้าน. เดลินิวส์ (dailynews.co.th)

Applebury, G. (2021). Why Is School Safety Important. Retrieved July 15, 2021, from https://safety.lovetoknow.com.

Unicef. (2015). Module 1 Pillar 1-Safe Learning Facilities. JAKARTA: Ministry of Education and Culture.