5. การพัฒนารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนัทธวัฒน์ วรวัชรบวรชัย
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์
ปาจรีย์ นาคะประทีป
จักษ์ จิตตธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน และ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่าง 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9839 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ 1.1) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.4) ความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.5)  ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับขอบข่ายความปลอดภัยในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.6)  ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.7)  ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.8)  ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.9)  ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน ประกอบด้วย การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม ได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการ พบว่ารูปแบบการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความสามารถนำไปปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(2), 1-14.

ณัฐวัฒน์ ศุภลักษณ์พิทยา. (2560). ฉบับแปลไทย, ความปลอดภัยรอบด้านในโรงเรียน. กรอบแนวคิดระดับโลกเพื่อสนับสนุน. Unicef for every child.

ปราณี อินทรักษา. (2554). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2551). กรอบแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา. เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 วันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. 2551 กรุงเทพ, หน้า 160-171.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2565). มาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สุกัญญา พรน้อย ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ และสมโภชน์ อเนกสุข. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3), 733-744.

เอกรินทร์ บำรุงภักดิ์. (2565). กราดยิงหนองบัวลำภู : ครบรอบ 1 เดือน รัฐออกมาตรการอะไรแล้วบ้าง. สืบค้นเมื่อ 6พฤศจิกายน 2565, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-63515960

Applebury, G. (2021). Why Is School Safety Important. Retrieved July 15, 2021, from https://safety.lovetoknow.com.

Keeves, P.J. (1988). Educational research methodology and measurement:An international handbook. Oxford, England: Pergamon Press.

Khadija Arkoubi. (2016). Safety in Schools. International Journal of Scientific & Engineering Research, 7(3), pp.708-710, ISSN 2229-5518

Mubita, K. (2021). An assessment of the Provision, Quality and Adequacy of Welfare Facilities in Selected Schools of Lusaka. International Journal of Research and Innovation in Social Science (IJRISS), 5(6). ISSN 2454-6186

Sangren, S. (1999). A Simple Solution to Nagging Questions about Survey, Sample Size and Validity. New York: Ithaca.

Smith, R. H., et al. (1980). Measurement : Making Organization Perform. New York : Macmillan.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis.