องค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยสันตพลจังหวัดอุดรธานี ประชากร จำนวน 370 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 226 คน ประกอบด้วย อาจารย์นิเทศ จำนวน 10 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 108 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 108 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ด้านการนิเทศ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.77 - 0.99 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.60 และด้านการปฏิบัติการสอนมีค่าอำนาจจำแนก ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ระหว่าง 0.56 - 0.97 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยสันตพลจังหวัดอุดรธานีประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพและความต้องการ 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การปฏิบัติการนิเทศ 4) การประเมินและรายงานผลการนิเทศ และ 5) การสะท้อนผลและอภิปราย
- การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก
- การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก
- การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกับการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัย
สันตพล จังหวัดอุดรธานี มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 - การนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการสะท้อนผลและอภิปราย มีอำนาจพยากรณ์และประสิทธิผลการปฏิบัติการสอนกับนักการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน และ .05 จำนวน 1 ด้าน โดยทั้ง 3 ด้านมีค่าอำนาจพยากรณ์ 56.90 และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .138
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรรณิกา วิชัยเนตร. (2557). การสะท้อนคิด: การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 188-199.
กัลยา ศรีมหันต์ และจิริยา อินทนา. (2559). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามสภาพจริงร่วมกับการสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนให้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี สถาบันพระบรมราชชนก.
ปารณีย์ ขาวเจริญและคณะ (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1).
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2550). วิธีวิทยาการวิจัย. สกลนคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการกรมอาชีวศึกษา. (ม.ป.ป.). 6 เดือนแห่งการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอาชีวศึกษาทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด :119.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สุเมธ คะลีล้วน. (2557). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2007). Supervision and instructional leadership. New York : Parson Educational.
Northouse. (2010). Introduction to leadership: Concept and practice (2nd ed.).Thousand Daks, CA: Saqe.