ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี

Main Article Content

ภานุวัฒน์ ศรีวรรณ
มนัสวี จ่าแก้ว
ธิติพงษ์ สุขดี
จิระเมศร์ ธนกุลอธิโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หาความสัมพันธ์และสร้างสมการพยากรณ์การตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่มาใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปี 2566 จำนวน 560 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (IOC=0.87-1.00, α = 0.88) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  2) ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา (β=0.283) ด้านบุคคล (β=0.257) ด้านกายภาพและการนําเสนอ (β=0.166) ด้านกระบวนการ (β=0.150) ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย (β=0.139) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจใช้บริการสนามกีฬาได้ร้อยละ 78.40

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2562). 10 จังหวัดเมืองกีฬา ร่วมเป็นส่วนสำคัญส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ. สืบค้นจาก https://www.sat.or.th/2019/10

เกวลิน สร้อยสะอาด ชุติมา หวังเบ็ญหมัด และปกรณ์ ลิ้มโยธิน. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 451-461

ดิฏฐชัย จันทร์คุณา อัศวิน จันทรสระสม กรรณิกา อินชะนะ ธิติพงษ์ สุขดีและ นิลมณี ศรีบุญ. (2564). ผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(2), 263 – 276.

นิกร ยาสมร, อุระวีคาพิชิต, บุษญา แสงแก้ว, อภิญญา ศรีมหาพรหม และฉัตรชัย สุขสันติ์. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียมในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(1), 66-83.

ปาริชาติ มหาบุญ สิรินาถ งามประเสริฐ รุ่งโรจน์ พรขุนทด ชีวิน อ่อนลออ สุกิจจา จันทะชุม วรากร จิตเที่ยง และ พรสุดา ชูช่วย. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟกรณีศึกษา : ค่ายศรีหราชเดโชไชยจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 9(พิเศษ), 37-47.

วณิศญดา วาจิรัมย์ กฤติยา อิศวเรศตระกูลและ ณัฏฐ์วัฒน์ ภควันฉัตร. (2566). การบริหารจัดการทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 43-51.

ศราวุธ ยังเจริญยืนยงและสมพร ไตยวงค์. (2559). การพยากรณ์การตัดสินใจทําสมาชิกสนามกอล์ฟในจังหวัดชลบุรีด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(1), 7-13.

สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). ก ข ค ง รหัสลับห่างไกลโรค. https://www.thaihealth.or.th ก-ข-ค-ง-รหัสลับห่างไกลโรค-2.

อภิทัย บำรุงพนิชถาวร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกสนามฟุตบอลหญ้าเทียม: กรณีศึกษาผู้ใช้บริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียม WINNING SEVEN. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 245-256.

Cronbach, L. J. and Furby, L. (1970). How we should measure" change": Or should we?. Psychological bulletin, 74(1), 68.

Da Silva, E. C., & Las Casas, A. L. (2017). Sports marketing plan: an alternative framework for sports club. International Journal of Marketing Studies, 9(4), 15-28.

Hair, Jr., J. F., Black, W.C., Babin, B. J., Anderson, R. E. And Black, R. L., W.C. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing insights from A to Z: 80 concepts every manager needs to know. John Wiley & Sons.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management 15th global edition (Global). Harlow: Pearson Education Limited.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology, 22(140), 5-55.

Malm, C., Jakobsson, J., & Isaksson, A. (2019). Physical activity and sports—real health benefits: a review with insight into the public health of Sweden. Sports, 7(5), 127.

Matic, R. M., Maksimovic, N., Vukovic, J., Corilic, D., Bujkovic, R., & Jaksic, D. (2019). Marketing mix in team sports in serbia. Journal of Anthropology of Sport and Physical Education, 3(3), 3-10.

Memari, Z., Lal Bidari, M., & Saadati, M. (2020). The security role of football stadiums on marketing mix development. New Approaches in Exercise Physiology, 2(3), 93-115.

Nazari, R., & Andalib, E. (2018). Prediction of Customer Attraction through Marketing Mix Elements and the Use of ICT at Private Sport Clubs. Comunacation Management in Sports Media, 6(22), 89-98.

Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60.

Sarlab, R., Alipour Nadinluoi, Z., & Mahmoudi, N. (2022). Study on the Marketing Mix of the Iranian Football Industry. Sports Business Journal, 2(1), 13-25.

Schumacker, E., & Lomax, G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4th ed). New York: Routledge.

Snedden, T. R., Scerpella, J., Kliethermes, S. A., Norman, R. S., Blyholder, L., Sanfilippo, J., ... & Heiderscheit, B. (2019). Sport and physical activity level impacts health-related quality of life among collegiate students. American Journal of Health Promotion, 33(5), 675-682.