มาตรการทางกฎหมายภัยคุกคามทางไซเบอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กลายเป็นช่องทางในการประกอบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในหลายรูปแบบถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งจากข้อมูลสถิติการแจ้งความเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนผู้แจ้งความทั้งสิ้น 192,031 คดี รวมความเสียหายถึง 100 ล้านบาท ด้วยเหตุที่เป็นอาชญากรรมที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว และหลากหลายรูปแบบ จึงเกิดแนวทางที่จะพัฒนา ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเหล่านี้ โดยมีมาตรการทางกฎหมายหลายฉบับ เข้ามามีบทบาท เช่น กฎหมายมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กฎหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยคุกคามทางเทคโนโลยีหลายฉบับ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนากฎหมายดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ เท่าทันต่อสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีอันเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรกัญญ์ญารัก บุญสุขเกิด. (2564). สถานการณ์และแนวทางการป้องกันอาจชญากรรมไซเบอร์ในประเทศไทย. คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
กรฉัตร มาตรศรี. (2565). แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กรณีศึกษาการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์. คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต.
กิตติ ประเสริฐสุข และคณะ. (2562). ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่การค้ามนุษย์การคืนแบบไม่ปกติอาชญากรรมข้ามชาติและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์. สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว. (2564). บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณรงค์ กุลนิเทศ. (ม.ป.ป.). รูปแบบและมาตรการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์. สาขานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.
ณัฐสุดา อัคราวัฒนา. (ม.ป.ป.). การกำหนดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ธนนท์ทัส สุธริยานิติภักดี. (ม.ป.ป.). อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษามาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตโดยมิชอบ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด. (2565). อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime) ภัยคุกคามตัวร้ายในโลกยุคดิจิทัล. จาก https://www.bangkokbankinnohub.com/th/what-is-cyber-crime/ ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560.
ปรเมศวร์ กุมารบุญ. (2565). เริ่มต้นกับอาชญากรรมไซเบอร์. http://www.gotoknow.org./post/623475.
สปริงนิวส์. (2565). ตำรวจ ปอท. เปิดสถิติประจำปี 2564 พร้อมเผยแพร่แนวโน้มปีนี้. https://www.springnews.co.th/spring-life/819659
อัญชลี จวงจันทน์. (2562). อาชญากรรมไซเบอร์. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.