ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาชักกะเย่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

เสกสรรค์ ใจดี
ศักดรินทร์ ธรรมวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาชักกะเย่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาชักกะเย่อหญิงของโรงเรียนบ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 15 คน ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ใช้เวลาในการฝึกแต่ละครั้ง 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย 1) ความอ่อนตัว 2) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3) พลังของกล้ามเนื้อ 4) พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก และสมรรถนะในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิก และ 5) สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบใช้ออกชิเจนสูงสุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกาย เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One-way repeated ANOVA) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้านความอ่อนตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.00 (±8.25), 8.95 (±6.34) และ 12.74 (±5.30) เซนติเมตร ตามลำดับ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีค่าเฉลี่ยแรงบีบมือเท่ากับ 0.51± (0.13), 0.53  (±0.14) และ 0.59 (±0.12) กิโลกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขาเท่ากับ 1.08 (±0.47), 1.16 (±0.51) และ 1.54 (±0.54) กิโลกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ตามลำดับ ด้านพลังของกล้ามเนื้อ มีค่าเฉลี่ยการทุ่มบอลเท่ากับ 3.74 (±0.54), 4.06 (±0.55) และ 4.44 (±0.73) เมตร ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยยืนกระโดดสูงเท่ากับ 37.86 (±8.39), 40.20 (±8.46) และ 43.60 (±6.45) เซนติเมตร ตามลำดับด้านพลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 (±0.92), 3.18± (0.96) และ 3.40 (±1.07) วัตต์/กิโลกรัม ตามลำดับ ด้านสมรรถนะในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.17 (±0.74), 2.47 (±0.70) และ 2.48 (±0.83) วัตต์/กิโลกรัม ตามลำดับ และสมรรถภาพการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.34 (±1.73), 25.93 (±2.02) และ 28.20 (±2.10) มิลลิลิตร/กิโลกรัม/นาที ตามลำดับ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกาย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างจากก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างจากหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังของกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุดได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรม
การฝึกแบบสถานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปต่อยอดปรับเปลี่ยนรูปแบบโปรแกรมการฝึก เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา
ชักกะเย่อได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2562). คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย.พระนครศรีอยุธยา. บริษัท เวิลด์ เอ็กซ์เพิร์ท จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา กาญจนประดิษฐ์. (2562). ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. กระบี่: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่.

ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ และสมชาติ บุญธรรม. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางแอนแอโรบิก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(1), 60.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย Physical Fitness Conditioning. กรุงเทพฯ: หจก. มีเดีย เพรส.

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. (ฉบับภาษาไทย), 10(2), 2173.

วิภาดา พ่วงพี ณัฐิกา เพ็งลี และวิชาญ มะวิญธร. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิคแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ, 45(2), 116.

ไวพจน์ จันทร์เสม. (2558). เครื่องมือฝึกพลังกล้ามเนื้อแบบกระบอกลม. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 7(2), 193.

สนธยา สีละมาด. (2560). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. นครปฐม: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bompa, T. O., & Cornacchia, L. (2021). Serious Strength Training. Human Kietics. USA.

Hoeger W. K., & Hoeger W. S. (2022). Principles and laps for fitness and wellness. Canada.Transcontinental Printing.

Marin-Pagan, C., Anthony J. B., Linda H. C., Romero-Arenas, S., Freitas, T. T., & Alcaraz P. E. (2020). Acute physiological responses to high-intensity resistance circuit training vs. traditional strength training in soccer players. Biology, 9(1), 383-395. doi:10.3390/biology9110383.

Vinh, N. Q., & Son, N. Q. (2021). A Study on physical exercises to improve physical fitness for female athletes of tug of war in ho chi minh city vietnam. European Journal of Physical Education and Sport Science, 7(3), 15-22. DOI: 10.46827/ejpe.v7i3.3893.

Yen-Ting L, Chia-Hua K., & Yi-Ching C. (2016). Differences in force gradation between tug-of-war athletes and non-athletes during rhythmic force tracking at high exertion levels. Chinese Journal of Physiology, 59(5), 260-267. DOI: 10.4077/CJP. 2016. BAE411.